ผมสนใจหนังสือเล่มนี้มาได้ 2 ปีแล้วครับ เพราะเป็นหนังสือที่ลูกพี่เขาปลื้มมาก และเป็นของขวัญที่ทางทีม Health at Home มอบให้ก่อนจะเดินทางมาสวีเดน พอดีสองปีที่ผ่านมามีเรื่องด่วนกว่าที่อยากศึกษามาตลอด เลยไม่ได้อ่านซักทีครับ ช่วงนี้รอ supervisor feedback thesis กลับมา ก็เลยลองหยิบมาอ่านดูครับ ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นหนังสือที่ดี แต่ก็ไม่ถึงกับขึ้นหิ้ง 😆 อ่านจบแล้วเลยมาสรุปและรีวิวครับ เล่มนี้ตอนนี้เหมือนมีฉบับแปลไทยด้วยนะครับ
.
ยาวไปไม่อ่าน
- การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ในโลกนั้นเหมือนเป็นคลื่น 3 ลูก ลูกแรกคือ infrastructure ต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดบริษัทอย่าง Microsoft, Apple, IBM, Cisco คลื่นลูกที่ 2 คือการใช้ประโยชน์จาก infra เหล่านั้น ทำให้เกิดบริษัทอย่าง Google, Facebook, Amazon ต่อไปจะเป็นคลื่นลูกที่ 3 เมื่ออินเตอร์เน็ตเข้าไปอยู่ในทุกอย่าง
- การจะทำธุรกิจ third wave จะไปคล้ายธุรกิจ first wave มากกว่า เพราะส่งผลกระทบต่อสังคมวงกว้าง มีภาครัฐเข้ามาเอี่ยว ดังนั้นสิ่งที่ต้องมีคือ partnership, policy, และ perseverance
- ภาคธุรกิจและภาครัฐ ควรเตรียมพร้อมสำหรับ wave นี้
.
เกี่ยวกับ AOL
ถ้าท่านใดมีเวลาซัก 20 นาที ลองดูคลิปนี้น่าจะทำให้เข้าใจมากขึ้นครับว่า AOL คืออะไร
อธิบายแบบสั้น ๆ ก็คือ สมัยก่อนการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตมันไม่ใช่เหมือนทุกวันนี้ เรายังไม่มี web browser แล้วเข้าเว็บต่าง ๆ ได้ด้วยการพิมพ์ url AOL เป็นบริษัทแรก ๆ ที่รวมเอาบริการหลาย ๆ เข้าไว้ในโปรแกรมเดียว (สมัยแรก ๆ คือเป็นโปรแกรมรันบนดอสผ่าน Floppy disk) เวลาจะใช้งานก็ต่อเน็ตแล้วเปิดโปรแกรมนั้น บริการที่ว่าก็มีตั้งแต่ Email, ข่าวสารต่าง ๆ, ขายของ, สื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ คือบริการแทบทุกอย่างที่คนใช้อินเตอร์เน็ตสมัยนั้นต้องการใช้ อยู่ใน AOL

ในวันที่ AOL กำลังรุ่งเรืองถึงขีดสุดขนาดเข้าซื้อกิจการของ Time Warner บริษัทสื่อยักษ์ใหญ่ที่มีสื่อในเครือมากมาย ก็เกิดปัญหา dot-com bubble แตก ปัญหา culture ขององค์กรที่ต่างกันระหว่าง AOL กับ Time Warner จนสุดท้ายจากที่คนเคยคาดหวังว่าการควบรวมกิจการครั้งนี้จะนำไปสู่ความไร้เทียมทาน ก็จบลงที่ต่างฝ่ายต่างแยกย้าย AOL กลับมาเป็น web portal ที่มีสื่อในมือจำนวนหนึ่ง (The Huffington Post, TechCrunch, Engadget) และถูก Verizon เข้าซื้อกิจการในเวลาต่อมา
.
Preface
- การนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ของมนุษย์นั้นผ่านมา 2 ระยะแล้ว the first wave คือการนำมาใช้ในช่วงแรก ๆ บริษัทที่เกิดเหล่านี้คือพวกทำ hardware, software, infrastructure ต่าง ๆ เช่น Sprint, Cisco, Apple, Microsoft, AOL, และ IBM บริษัทเหล่านี้ต้องฝ่าฟันในการทำให้คนเข้าใจว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไร และจำเป็นอย่างไร
- the second wave คือเมื่อทุนคนเข้าใจแล้วว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ พร้อม ๆ กับมีการเกิดขึ้นของ mobile device บริษัทเหล่านี้คือบริษัทที่ใช้อินเตอร์เน็ตในการสร้างมูลค่า เช่น Amazon, Google, Facebook, Twitter บริษัทเหล่านี้กลายเป็นสูตรสำเร็จของ startup ที่สร้าง product ขึ้นจากทีมเล็ก ๆ และสเกลอย่างรวดเร็วจนผู้ใช้มหาศาล แต่ยุคของ second wave หมดลงแล้ว เพราะอะไรที่ tech อย่างเดียวทำได้ ก็น่าจะมีคนทำไปเกือบหมดแล้ว ตอนนี้เรากำลังเข้าสู่ยุคที่ 3
- the third wave คือยุคที่อินเตอร์เน็ตเข้าไปอยู่ในทุกอย่าง เหมือนที่เราไม่รู้สึกว่าอุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าเป็นเรื่องแปลกในสมัยนี้ ซึ่งการที่อินเตอร์เน็ตเข้าไปอยู่ในทุกอย่างก็จะทำให้เกิดธุรกิจแบบใหม่ ๆ ซึ่ง disrupt ธุรกิจแบบเดิม ๆ และเกิดการสร้างมูลค่าแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
- อย่างไรก็ดี สูตรสำเร็จของ second wave startup ไม่สามารถใช้ได้อีกแล้วในปัจจุบัน ผู้เขียนเชื่อว่าการทำธุรกิจ third wave จะไปมีความคล้ายกับ first wave มากกว่า ดังจะกล่าวต่อไปภายในเล่ม
.
บทที่ 1: A Winding Path
- ผู้เขียนเน้นเล่าประวัติของตนเองตั้งแต่เรียนจบ ทำงานในที่ต่าง ๆ จนไปทำงานที่ Control Video Corporation (CVC) บริษัทนี้แม้ไปไม่รอด แต่ก็ทำให้ผู้เขียนและทีมงานจำนวนหนึ่งนำเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังมาตั้งเป็นอีกบริษัทชื่อ Quantum Computer Services เขาก็เล่าให้ฟังต่อถึงความยากลำบากต่าง ๆ ในยุคนั้น กว่าจะได้ดีลแต่ละที่ กว่าจะ raise fund ได้ กว่าจะอธิบายให้คนเข้าใจได้ว่าอินเตอร์เน็ตคืออะไร
- ทั้งหมดในบทนี้คือเพื่อปูพื้นให้ผู้อ่านเข้าใจลักษณะของธุรกิจใน the first wave
.
บทที่ 2: Getting America Online
- ผู้เขียนเล่าถึงช่วงการก่อตั้ง AOL โดยเริ่มจากการได้เงินทุนเนื่องจาก Apple ผิดสัญญา ประสบการณ์การทำงานให้บริษัทต่าง ๆ ทำให้ทีมงานมีไอเดียและความรู้ที่จะสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของ AOL เมื่อเปิดตัวแล้วก็ได้กระแสตอบรับที่ดีมาก จนนำไปสู่การ IPO ในเวลาต่อมา
- อ่านมาสองบทนี่รู้สึกว่าชีวิตของผู้เขียนก็ค่อนข้างฝ่าฟันอะไรมาเยอะ นำบริษัทก้าวหน้าแต่ก็โดนปลดจาก CEO เพราะอายุน้อยเกินไปสำหรับการจะเป็น CEO ของ public company ได้ (สมัยนั้น) แต่ก็ไม่ได้ย่อท้อและอยู่กับบริษัทต่อจนได้กลับมาเป็น CEO อีกครั้ง และนำพาบริษัทรุ่งเรือง
.
บทที่ 3: The Third Wave
- ผู้เขียนแชร์ไอเดียของธุรกิจต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุค the third wave โดยเน้นที่ 3 ด้าน คือ healthcare, education และ food อันนี้ผมขอไม่ลงรายละเอียดเพราะสื่ออื่น ๆ ก็เสนอไอเดียราว ๆ นี้ หลัก ๆ ก็คือ ธุรกิจเหล่านี้มีการวิธีการดำเนินงานที่ทำแบบเดิมมาเป็นร้อยปี และค่อนข้างไม่มีประสิทธิภาพ ในยุคหน้าจะมีการใช้อินเตอร์เน็ตเข้าไปมีส่วนในทุกอย่างของธุรกิจ ซึ่งมันจะนำไปสู่รูปแบบการดำเนินงานแบบใหม่ที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากยุคก่อนหน้านี้
.
บทที่ 4: Start Up, Speed Up
- ผู้เขียนเล่าถึงคู่แข่งต่าง ๆ ในช่วงที่ AOL เข้าตลาดหุ้นใหม่ ๆ และกลยุทธ์ที่ AOL ใช้แข่งขันกับคู่แข่งต่าง ๆ ที่ใหญ่กว่าตนเองมาก ธุรกิจเหล่านี้ก็คือ Prodigy, CompuServe, GEnie น่าสนใจที่ผมไม่รู้จักบริษัทเหล่านี้เลยในปัจจุบัน สะท้อนความเป็นโลก tech ว่าผู้แพ้ในตลาดพร้อมจะถูกโลกลืมอย่างรวดเร็ว
- แต่ภัยคุกคามอันดับหนึ่งของ AOL ณ เวลานั้นก็คือ Microsoft ที่ยื่นข้อเสนอซื้อกิจการ ถ้าไม่ขายก็จะทำของมาแข่ง (คุ้น ๆ ไหมครับ strategy นี้ ทำกันเยอะในปัจจุบันเลย) สุดท้าย Microsoft เข็น MSN เข้ามาแข่ง แถมยัง bundle มากับ Windows ทุกเครื่อง แต่สรุปว่าสุดท้าย MSN ก็ล้มเหลวและ AOL กลายเป็นผู้ชนะ
.
บทที่ 5: The Three P’s
- 3 P ที่จำเป็นสำหรับการสร้างธุรกิจในยุค third wave
Partnership
- ธุรกิจในยุค second wave นั้นสามารถทำได้จากทีมเล็ก ๆ แล้วสเกลใหญ่ระดับโลกได้ด้วยเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ธุรกิจในยุค third wave เทคโนโลยีอย่างเดียวทำแบบนั้นไม่ได้แล้วเพราะทุกอย่างจะมี gatekeeper อยู่ จะนำเทคโนโลยีไปใช้ในโรงเรียนได้ก็ต้องให้ครูเห็นชอบ จะนำไปใช้ในรพ.ก็ต้องให้หมอเห็นชอบ ดังนั้นต้องมี partnership ที่ดี
- ความยากคือธุรกิจเหล่านี้ต้องไม่ทำให้ gatekeeper รู้สึกว่าเขาเป็น threat ที่จะมาเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ ผู้เขียนยกตัวอย่างตอนที่ Steve Jobs สร้าง iPod ครั้งแรกและต้องเป็นพันธมิตรกับค่ายเพลง ตอนนั้นค่ายเพลงกำลังมีปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนัก Jobs นำเสนอ iTune store ในแง่เป็นที่ที่ให้ค่ายเพลงได้ลองโมเดลการขายแบบใหม่ (ตอนนั้นส่วนแบ่ง Mac ใรตลาด desktop แค่ราว 2%) ไม่ได้มีผลเสียอะไร ไม่มีใครมองว่า store จะเป็นช่องทางทำเงินมหาศาลที่ตนเองควรทำเอง
- ความยากอีกอย่างคือ การจะเข้าไปคุยกับ gatekeeper ได้ นักธุรกิจก็ต้องมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่ง ซึ่งความน่าเชื่อถือตรงนี้มันมาจากการสั่งสมจากพันธมิตรเล็ก ๆ ก่อน จึงจะเป็นพันธมิตรกับบริษัทที่ใหญ่ขึ้น ๆ ได้
Policy
- ธุรกิจในยุค third wave นั้นยากที่จะหลีกเลี่ยงการดีลกับเรื่อง policy จาก regulator ต่าง ๆ เช่น ถ้าทำเรื่อง healthcare ก็ต้องดีลกับ policy ของ FDA, ถ้าทำเรื่องขนส่งก็ต้องดีลกับ policy เกี่ยวกับกรมการขนส่ง
Perseverance
- เนื่องจากความยากทั้งในแง่ partnership และ policy ดังนั้นจึงยากที่ธุรกิจ third wave จะ success ได้เร็ว ๆ เหมือน second wave สิ่งที่ต้องการคือความอดทน
- ผู้เขียนยกตัวอย่าง บริการตรวจ DNA 23andMe ที่ตอนแรกก็โดน FDA สั่งห้าม ใคร ๆ ก็คิดว่าหมดอนาคตแล้ว แต่ผ่านไปหลายปีก็สามารถมีข้อยกเว้นพิเศษให้จำหน่ายได้
.
บทที่ 6: Pardon the Disruption
- บทนี้เน้นพูดถึงบริษัทใหญ่ว่าต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงให้ทัน เพราะมันจะไม่เหมือน 2 wave ก่อนหน้านี้อีกแล้วที่การ disruption เกิดในวงการ tech เป็นหลัก เลยไม่โดน disrupt อะไร ตอนนี้บริษัทใหญ่ต้องให้ค่ากับ innovation และกล้าที่จะทำอะไรนอกกรอบและล้มเหลว
- ต้องกล้าที่จะทำ product มาฆ่า product ของตัวเอง (เหมือน Amazon ทำ Kindle, Apple ทำ iPad) เพราะไม่งั้นคนอื่นก็จะทำ
- คนที่จะมา disrupt ธุรกิจที่ทำอยู่ มักจะมาจากวงการอื่น เช่น Apple ไม่ได้อยู่ในธุรกิจเพลงก่อนที่จะทำ iPod
- ถ้าไม่สามารถสร้าง innovation เองได้ ก็รีบลงทุนในบริษัทเล็ก ๆ ที่ innovative
.
บทที่ 7: The Rise of the Rest
- บทนี้เน้นกล่าวว่าต่อไปบริษัทเด่น ๆ จะไม่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ เช่น New York หรือ San Francisco อีกต่อไป เพราะการจะสร้างธุรกิจ third wave ได้จำเป็นต้องเข้าไปคลุคลีอยู่ที่แหล่งที่มีความเชี่ยวชาญด้านนั้น ๆ เช่น ด้านเกษตรก็ต้องไปสร้างแถว midwest หรือด้านการแพทย์ก็ต้องไปสร้างแถว Baltimore, Nashville
- เมืองไหน ๆ ในโลกก็สามารถเปิดรับวัฒนธรรมการสร้าง innovation ได้ ยกตัวอย่าง New Orleans หลังโดนพายุเฮอริเคนถล่ม ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ กลายเป็น charter school (เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำโรงเรียน) ซึ่งเป็นอิสระมากกว่า และความต้องการฟื้นฟูโรงเรียนขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อให้รับเอาเทคโนโลยีจาก startup เข้าไป ปัจจุบันเลยกลายเป็นเมืองที่เป็นศูนย์ด้าน ed-tech ไป
- การเกิดขึ้นของธุรกิจเหล่านี้จะเป็นแรงผลักดันทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่ออเมริกาในยุคหน้า
- ความท้าทายของ startup ที่อยู่นอก center ใหญ่ ๆ ก็คือเรื่องการเข้าถึงแหล่งทุนและ human resource แต่เรื่องเหล่านี้ก็จะดีขึ้นเรื่อย ๆ
.
บทที่ 8: Impact Investing
- เพราะว่าธุรกิจ third wave จะเป็นธุรกิจที่แก้ปัญหาเรื่องที่สำคัญ ๆ ในสังคมมากกว่าจะเป็นธุรกิจแนว tech เหมือน second wave ธุรกิจเหล่านี้จะทำกำไรมหาศาลพร้อม ๆ กับสร้างโลกที่ดีขึ้น ดังนั้นนักลงทุนไม่ควรมองหาแต่บริษัทที่ทำกำไรดีเพียงอย่างเดียว เพราะกำไรและผลประโยชน์ต่อสังคมสามารถไปด้วยกันได้
- ผู้เขียนพูดถึงองค์กร 2 องค์กรที่ตนก่อตั้ง คือ มูลนิธิ Case Foundation และบริษัท Revolution ที่เน้นลงทุนในกิจการที่สร้าง impact ต่อสังคม
.
บทที่ 9: A Matter of Trust
- ผมมีความรู้สึกว่าบทนี้เป็นบทที่ผู้เขียนอยากเขียนที่สุดแล้วในเล่ม ความรู้สึกของเขาสะท้อนออกมาในตัวหนังสือ เขามีความรู้สึกว่าผู้คนคิดว่าความล้มเหลวของ AOL เป็นความผิดของเขา แต่เขาพยายามจะบอกว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ และเขาพยายามทำอะไรลงไปบ้างเพื่อยับยั้งความล้มเหลวนั้น และทำไมมันถึงไม่สำเร็จ
- สาระสำคัญจริง ๆ คือ เขาบอกว่าความล้มเหลวของ AOL เป็นเพราะเขาให้ความสำคัญกับเรื่องคนน้อยเกินไป การควบรวมกิจการเริ่มมาจากความไม่ไว้วางใจกันของทั้งสองฝ่าย รวมไปแล้วก็มีเรื่อง culture และ vision องค์กรที่ไม่ตรงกัน ผู้เขียนบอกว่าที่ตนถอยห่างออกมา เพราะอยากให้อำนาจแก่ CEO เต็มที่ แต่นั่นกลับทำให้คนมองว่าเขาเย่อหยิ่งและไม่สนใจ เขาคิดว่าเรื่องที่เห็นชัด ๆ ว่าทำแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร แต่คนอื่น ๆ กลับคิดไม่เหมือนเขา (เพราะความไม่เข้าใจในธุรกิจ digital) เสนออะไรไปก็ไม่มีใครสนใจ พยายามทุกอย่างแล้วอยู่หลายปีแต่ก็ไม่สำเร็จ สุดท้ายเลยลาออกดีกว่า
- อ่านแล้วก็ไม่รู้ว่าจริงเท็จอย่างไรนะครับ เพราะก็เป็นมุมเขาคนเดียว แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อว่าจริงคือผู้เขียนน่าจะเจ็บปวดมากที่เห็นบริษัทที่สร้างมากับมือจนยิ่งใหญ่ค่อย ๆ พังไปทีละนิด
.
บทที่ 10: The Visible Hand
- บทนี้พูดถึงบทบาทของรัฐบาลว่าสำคัญมากต่อธุรกิจ third wave อย่างแรกในฐานะ regulator, อย่างที่สองในฐานะเป็นผู้ลงทุนในงานวิจัยที่เอกชนไม่กล้าลงทุน แต่กลายเป็นสร้างผลประโยชน์มหาศาล (เช่น GPS, หรือแม้แต่อินเตอร์เน็ตเอง) และอย่างสุดท้ายคือรัฐบาลในฐานะผู้ซื้อ product
- สาระสำคัญคือธุรกิจควรเลิกมองรัฐบาลในแง่ลบ เพราะรัฐบาลก็มีนโยบาย มีผลประโยชน์ที่ต้องรักษาที่แตกต่างไปจากธุรกิจ และควรพยายามทำตัวเป็นกลาง เพราะสิ่งที่ธุรกิจ third wave จะทำนั้นมีประโยชน์ต่อส่วนรวมและต้องการ bipartisan support (การสนับสนุนจากทั้งสองขั้ว) เท่านั้นจึงจะเกิดขึ้นได้
.
บทที่ 11: America Disrupted
- บทนี้เน้นพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลควรทำมี 6 อย่าง 1) ควรเลิกสับสนระหว่าง startup และ SMEs เพราะทั้งสองอย่างมีรูปแบบการสนับสนุนที่ต่างกัน และสำคัญทั้งคู่ 2) ควรมีหน่วยงานกลางเพื่อประสานงานองค์กรต่าง ๆ ในภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ third wave 3) ลงทุนเพิ่มใน R&D โดยเฉพาะโปรเจคท์ที่อาจไม่เกิดกำไร 4) ทำให้การระดมทุนเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นสำหรับ startup 5) ทำให้คนเข้ามาทำงานได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะแรงงานมีฝีมือ อย่าปล่อยให้เขาไปอยู่ประเทศอื่น 6) ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย เช่น กฎหมายแรงงานของคนที่เป็นฟรีแลนซ์หลาย ๆ ที่ แต่ไม่ได้ทำงานประจำ
- นี่เป็น movement ที่ทำกันทั้งโลก ถ้ารัฐบาลอเมริกันไม่ทำ จะสูญเสียความเป็นผู้นำในทางเศรษฐกิจของโลก
.
บทที่ 12: Ride the Wave
- บทนี้เป็นการสรุปทั้ง 11 บทที่ผ่านมาครับ และเป็น key takeaway สำหรับฝ่ายต่าง ๆ startup, corporate, รัฐบาล, ผู้อ่าน
.
รีวิวโดยรวม
ผมว่าหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนผสมระหว่างหนังสือแนวอัตชีวประวัติกับหนังสือธุรกิจ จริง ๆ ไอเดีย The Third Wave เอง ผมว่ามันไม่ได้ใหม่มากแล้ว แต่ส่วนที่ผมชอบจริง ๆ ในหนังสือเล่มนี้กลับเป็นส่วนอัตชีวประวัติที่ผู้เขียนเล่าถึงชีวิตตั้งแต่เริ่มทำงานไปจนถึงการก่อตั้ง AOL จากไม่มีอะไรจนกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ก่อนจะล่มเหลวในเวลาต่อมา
เราได้รับรู้มุมมองของคนที่อยู่ตรงจุด ๆ นั้น ว่าเขาคิดอะไร มีทางเลือกอะไรบ้าง ทำไมถึงตัดสินใจแบบนั้น สิ่งไหนที่เขาคิดถูกสิ่งไหนผิด แม้ว่าโลกในวันนั้น (ยุค 80s) ต่างกันปัจจุบันมาก แต่ผมกลับรู้สึกว่ามีหลาย ๆ อย่างคล้ายกับปัจจุบันอย่างน่าประหลาด เช่น ความ hype เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สุดท้ายแล้วไม่เวิร์ค, การต่อรองและแข่งขันกับบริษัทใหญ่, ฯลฯ ผมว่าประสบการณ์ตรงนี้ของผู้เขียนเด็ดกว่าแนวคิด The Third Wave ซะอีก เสียดายที่ส่วนนี้มีไม่เยอะ
อีกเรื่องที่ชอบก็คือ 3P นั่นแหละครับ (partnership, policy, perseverance) คือผมว่าทุกคนรู้แหละว่า startup playbook แบบยุค second wave นี่มันไม่เวิร์คแล้ว คือไม่มี the next Facebook แล้ว แต่ก็ไม่ค่อยมีใครมาบอกว่าถ้าแบบเดิมมันไม่เวิร์คแล้วต่อไปต้องทำไง (ถึงแม้เล่มนี้จะไม่ได้มีรายละเอียดอะไรเยอะก็เถอะ)
เรื่องธุรกิจ third wave ส่วนตัวผมเอง ผมยังมีความเชื่อนะครับ (ไร้หลักฐาน support ใด ๆ 555) ว่าธุรกิจที่จะเป็น the next big thing ในยุคหน้า มันจะไม่ใช่สิ่งที่คนในยุคนี้จินตนาการออก คืออาจจะพอมีไอเดีย แต่สิ่งที่ออกมาจะต่างไปจากที่คนยุคก่อนคิดแน่นอน ผมว่าลองไปถามคนยุค first wave ดูก็ได้ครับว่ามีใครคิดหรือเปล่าว่าหลังจากนั้นแค่ไม่กี่ปี คนเราจะทำกิจกรรมเยอะมากจากโทรศัพท์มือถือ
.
สรุป
โดยรวมก็เป็นหนังสือที่อ่านสนุกเล่มหนึ่งครับ อ่านแล้วรู้สึกอยากหาหนังสือแนวชีวประวัติมาอ่านเพิ่ม