ระบบบริการสุขภาพของสวีเดน (Swedish Health Care System) – A Short Introduction

บทความแรกที่จุดประกายความสนใจของผมต่อระบบบริการสุขภาพของสวีเดนคือบทความนี้จาก The Guardian ครับ Which country has the world’s best healthcare system? ประกอบกับการเรียน Health Informatics ที่นี่ ก็เลยต้องทำความเข้าใจระบบบริการสุขภาพของสวีเดนในภาพรวม ลองเสิร์ชดูก็ยังไม่ค่อยเห็นใครเขียนเรื่องนี้ในเมืองไทย ก็เลยเขียนเลยละกันครับ

ข้อมูลส่วนใหญ่ในนี้ผมนำมาจาก International Profiles of Health Care Systems, 2015 โดย The Commonwealth Fund นะครับ เพิ่มเติมด้วยข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ และ lecture


Highlights

  • ระบบบริการสุขภาพของสวีเดนมี outcome ในด้านต่างๆ ที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับกลุ่ม developed countries ด้วยกัน
  • โครงสร้างการบริหารงาน แบ่งออกเป็นระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น ดูแลโดย Ministry of Health and Social Affairs, County Councils, และ Municipalities ตามลำดับ โดยสองอันหลังรวมตัวกันในนาม SALAR
  • ระบบ health care ทั้งระบบเกือบผูกขาดโดยรัฐ
  • ประชาชนชาวสวีเดนและผู้พำนักอาศัยโดยถูกกฎหมาย จะสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ โดยหลักการคือเป็น co-payment แต่จะมีเพดานราคาให้ (ไม่ให้คนล้มละลายจากการรักษาพยาบาล)
  • การพัฒนาคุณภาพ ทำผ่านการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล และ National Quality Registry เป็นหลัก
  • ปัญหาหลักของระบบคือ co-ordination และ access คือใช้เวลารอรับการรักษานานมาก

1. Heath Care System ของสวีเดนดียังไง

เอาสถิติต่างๆ มาดูกันดีกว่าครับ อันแรกเป็นของ The Commonwealth Fund เป็นมูลนิธิที่ทำเรื่องส่งเสริมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เขาจะออกรายงานต่างๆ เป็นประจำ ในภาพคือการจัดอันดับระบบบริการสุขภาพของประเทศต่างๆ ที่เขาทำการศึกษา (ส่วนใหญ่ก็เป็นกลุ่ม OECD) เมื่อปี 2014 จะเห็นว่าสวีเดนมาเป็นอันดับสาม

ภาพจาก The Commonwealth Fund

ประชาชนชาวสวีเดน มีอายุยืนยาวกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม OECD (สังเกตว่าอเมริกาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนะครับ ถ้าใครสนใจเรื่องระบบบริการสุขภาพของอเมริกา จะพบการแย่กว่าค่าเฉลี่ยแบบนี้ในหลายๆ เรื่องเลย)

ดัดแปลงจาก Health at a Glance 2015 – OECD indicators

อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

ดัดแปลงจาก Health at a Glance 2015 – OECD indicators

ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพเมื่อเทียบเป็นร้อยละของ GDP ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่ไม่ไปไกลเหมือนอเมริกา

ดัดแปลงจาก Health at a Glance 2015 – OECD indicators

จำนวนแพทย์ต่อประชากร 1,000 คน สวีเดนอยู่อันดับต้นๆ

ดัดแปลงจาก Health at a Glance 2015 – OECD indicators

จากกราฟต่างๆ น่าจะพอเห็นภาพรวมครับ ว่าระบบบริการสุขภาพของสวีเดนค่อนข้างมีประสิทธิภาพ


2. ข้อมูลเบื้องต้น

  • สวีเดนมีจำนวนประชากร 9.6 ล้านคน (2013) โดยราว 80% อาศัยในเขตเมือง
  • ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (total health care expenditure) คิดเป็น 11% ของ GDP (84% เป็นรายจ่ายโดยภาครัฐ)
  • ระบบบริการสุขภาพครอบคลุมประชากรดังนี้ 1) ประชาชนชาวสวีเดนทั้งหมด 2) ผู้พำนักอาศัยโดยถูกกฎหมาย (มี residence permit) 3) ประชาชนของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศคู่สัญญาบางประเทศ และ 4) ผู้ลี้ภัย โดยกลุ่ม 3) และ 4) จะไม่ได้รับสิทธิ์เท่า 2 กลุ่มแรก

2.1 โครงสร้างการบริการสาธารณสุข

การปกครองของสวีเดนเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น 21 county (มณฑล, เขต) และ 290 municipality (เทศบาล)

ภาพจาก Symbiocare.org

โดยในด้านการบริการสาธารณสุข แต่ละระดับแบ่งหน้าที่กันดังนี้

  • ระดับประเทศ – ดำเนินงานโดย Ministry of Health and Social Affairs คำแปลน่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคม กระทรวงจะทำหน้าที่กำหนดนโยบายและดำเนินการควบคุม (regulator) ผ่านหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวง
  • ระดับภูมิภาค – ดำเนินงานโดย County Councils คำแปลน่าจะประมาณสภามณฑลล่ะมั้งครับ โดย County council จะเป็นตัวหลักในการให้บริการประชาชน ในระยะหลังมีการจับกลุ่ม county council เป็น 6 regions เพื่อดำเนินงานในระดับภูมิภาคเช่นกัน
  • ระดับท้องถิ่น – ดำเนินงานโดย Municipalities (เทศบาลเมือง) โดยเน้นดูแลผู้สูงอายุและสังคมสงเคราะห์

84% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (total health care expenditure) เป็นการใช้จ่ายภาครัฐ เรียกว่าระบบบริการสุขภาพของสวีเดนเป็นการผูกขาดโดยรัฐก็ว่าได้ โดยใน 84% นี้ 57% มาจาก County councils, 25% มาจาก municipalities, และ 2% มาจากรัฐบาลกลาง

เกี่ยวกับ County council

  • รายจ่าย: 90% จะลงไปกับการจัดบริการทางสุขภาพ (ที่เหลือก็ไปลงพวก public transport, cultural activities)
  • รายรับ: 68% มาจากภาษีที่เก็บตรงเข้า county และ 18% มาจากงบส่วนกลาง ที่เหลือ 14% มาจากรายได้อื่นๆ

ระบบบริการสุขภาพของสวีเดน Private health insurance มีบทบาทน้อยมากครับ คิดเป็น 1% ของ total health care expenditure ส่วนใหญ่คือนายจ้างซื้อประกันให้ลูกจ้างเข้าถึงบริการได้เร็วขึ้น (ระยะเวลาเข้าถึงบริการทางการแพทย์เป็นปัญหาของสวีเดนมาเนิ่นนาน ดังจะกล่าวต่อไปครับ) ประมาณ 10% ของลูกจ้างมีประกันแบบนี้

ค่าตอบแทนแพทย์เฉพาะทาง เฉลี่ยที่ 73,000 SEK/เดือน (เกือบ 300,000 บาท)


2.2 The Swedish Association of Local Authorities and Regions (SALAR)

ชื่อภาษาสวีดิชคือ Sveriges Kommuner och Landsting, SKL, SALAR คือองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของรัฐบาลส่วนท้องถิ่น (ตัวแทนจาก County councils และ Municipalities) เป็นชื่อองค์กรที่เราจะได้ยินบ่อยๆ ในข่าว เวลารัฐบาลมีนโยบายอะไรก็จะดำเนินการผ่าน SALAR นี่แหละครับ

ในภาพรวมของระบบบริการสุขภาพก็จะเป็นแบบนี้

ภาพจาก Sweden Health system review (Anell A. et al., 2012)

2.3 หน่วยงานของรัฐบาลกลาง

Ministry of Health and Social Affairs มีหน่วยงานที่สังกัดอยู่ 19 หน่วย หน่วยที่ดูแลเรื่องสุขภาพและสาธารณสุข ที่เด่นๆ มีดังนี้

  • The National Board of Health and Welfare
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Socialstyrelsen – Website
    • หน้าที่: กำกับดูแลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของทั้งประเทศ, ออกใบประกอบโรคศิลป์สำหรับอาชีพต่างๆ, ออก guideline สำหรับโรคต่างๆ, เก็บรวบรวมสถิติด้านสาธารณสุข
  • The Health and Social Care Inspectorate
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Inspektionen för vård och omsorg (IVO) – Website
    • หน้าที่: ดูแลเรื่องคนพิการ และออกใบรับรองความพิการ
  • The Swedish Agency for Health and Care Services Analysis
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Vårdanalys – Website
    • หน้าที่: วิเคราะห์นโยบายต่างๆ ด้านสาธาณสุขเพื่อช่วยในการตัดสินใจ
  • The Public Health Agency
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Folkhälsomyndigheten – Website
    • หน้าที่: ดูเรื่อง public health ทั้งหมด ตั้งแต่โรคติดต่อ, antimicrobial resistance, ไปจนถึงอัตราการดื่มสุรา
  • The Swedish Council on Technology Assessment in Health Care
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Statens beredning för utvärdering av medicinsk metodik (SBU) – Website
    • หน้าที่: วิเคราะห์​ cost-effectiveness ของเทคโนโลยีต่างๆ ทางสุขภาพที่ใช้ในประเทศ
  • The Dental and Pharmaceutical Benefits Agency
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Tandvårds- och läkemedelsförmånsverket (TLV) – Website
    • หน้าที่: ดูเรื่อง reimbursement ของยา, ทันตหัตถการ, อุปกรณ์ทางการแพทย์ และดูเรื่องราคายาในตลาด
  • The Medical Products Agency
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Läkemedelsverket (MPA) – Website
    • หน้าที่: คือ FDA, อ.ย.​ทำหน้าที่ดูแลเรื่อง regulation เกี่ยวกับยาและเวชภัณฑ์
  • The Swedish eHealth Agency
    • ชื่อภาษาสวีเดน: eHälsomyndigheten – Website
    • หน้าที่: ส่งเสริมเรื่อง eHealth ในประเทศ, สร้าง eHealth infrastructure, สร้าง service ให้ประชาชนและ vendor
  • The Medical Responsibility Board
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Hälso- och sjukvårdens ansvarsnämnd (HSAN)
    • หน้าที่: ดูเรื่องความเสียหายและการฟ้องร้องทางการแพทย์
  • The Swedish Social Insurance Agency
    • ชื่อภาษาสวีเดน: Försäkringskassan – Website
    • หน้าที่: ดูเรื่องการประกันสังคมต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย, บำนาญ, parental insurance ฯลฯ
Swedish Government Health Agencies
โครงสร้างองค์กรหลักๆ จริงๆ ยังมีหน่วยงานอีกเยอะนะครับที่ไม่ได้ลงในแผนภาพ

3. บริการสุขภาพสำหรับประชาชนและผู้พำนักอาศัยในสวีเดน

บริการสุขภาพสำหรับประชาชนในสวีเดนมีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่ primary care, emergency care, inpatient-outpatient care, mental health care ไปจนถึง home care


3.1 ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ

การรับบริการสุขภาพในสวีเดนสำหรับคนทั่วๆ ไปเป็นระบบ cost-sharing คือ ประชาชนจ่ายค่าบริการส่วนหนึ่ง แต่รัฐบาลก็จะ subsidize ส่วนหนึ่ง หลักการคือเก็บค่ารักษาบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดการ abuse ระบบ แต่ไม่แพงเกินไปจนทำให้ประชาชนล้มละลายจากการรักษา โดยค่าใช้จ่ายในการรับบริการต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้

ค่าพบแพทย์และนอนรพ.

ServiceFee Range (2014)
Swedish Kroner (SEK)
Primary care physician visit100–300
Hospital physician consultation200–350
Hospitalization per day80–100
  • ราคาที่เห็นเป็น range คือจะต่างกันไปตามแต่ละ county
  • พูดง่ายๆ ก็คือ ไปหาหมอครั้งนึง เสียเงินราว 100-300 SEK (400-1,200 บาท) หาหมอในรพ.ก็แพงกว่าหน่อย ถ้านอนรพ.ก็วันละ 80-100 SEK (320-400 บาท) ดูเหมือนแพง แต่คนที่นี่ทำงานชม.นึงแบบค่าแรงขั้นต่ำเลย ก็ได้มา 100 SEK แล้วครับ สำหรับชนชั้นกลางแล้วราคานี้ถูกมาก
  • ถ้าเป็นเยาวชนอายุน้อยกว่า 18 ปี และน้อยกว่า 20 ปีในบาง county ไม่ต้องเสียค่า visit
  • แต่ราคาด้านบนนี้จะมีเพดานอยู่ กล่าวคือใน 12 เดือน จะเสียค่า visit ไม่เกิน 1,100 SEK (4,400 บาท) ถ้าเกินจากนั้นก็ฟรีไปเลย

ค่าทำฟัน

  • อายุน้อยกว่า 20 ปี ทำฟันฟรีทั้งหมด
  • อายุมากกว่า 20 ปี สำหรับ preventive dental care รัฐบาลจะมีงบทำฟันให้ 150-300 SEK ต่อปี ขึ้นกับอายุ
  • สำหรับ dental care อื่นๆ จะใช้วิธีคิดราคารวมใน 12 เดือน โดยมีอัตราดังนี้
    • ไม่เกิน 3,000 SEK –> คนไข้จ่ายทั้งหมด
    • ตั้งแต่ 3,000-15,000 SEK –> คนไข้จ่าย 50%
    • 15,000 SEK ขึ้นไป –> คนไข้จ่าย 15%
    • ตัวอย่างเช่น ค่ารักษาฟันทั้งหมดใน 12 เดือน เป็น 16,000 SEK ก็จ่าย 3,000 SEK แรก + 6,000 SEK (50% of 12,000) + 150 SEK (15% of 1,000) = 22,150 SEK (88,600 บาท)

ค่ายา

  • สำหรับผู้ใหญ่ ใน 12 เดือน ถ้าค่ายาไม่เกิน 1,100 SEK คนไข้จ่ายเองทั้งหมด หลังจากนั้นรัฐจะค่อยๆ subsidize ในอัตราส่วนต่างๆ โดยมีเพดานค่ายาคือ 2,200 SEK
  • ตัวอย่างคือ ตอนแรกจ่ายเองจน 1,100 SEK หลังจากนั้นรัฐจะช่วยจ่ายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ตามทั้งปีจะไม่เกิน 2,200 SEK (8,800 บาท)
  • 2,200 SEK นี้จะคิดรวมกันสำหรับเด็กทุกคนในครอบครัว เช่น คนแรก 1,200 คนที่สอง 1,000 ก็ถือว่าครบแล้ว
  • สำหรับยาบางตัวที่ไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลัก คนไข้ต้องจ่ายเองทั้งหมด

ถ้าคิดคร่าวๆ ก็คือ ปีนึงถ้าไม่ทำฟัน จะเสียค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพไม่เกิน 1,100 + 2,200 = 3,300 SEK (13,200 บาท)


3.2 Primary Care

ข้อมูลทั่วไป

  • 20% ของ total health care expenditure ลงไปกับ primary care, 16% ของแพทย์ทั้งหมดทำงานใน primary care
  • โดยเฉลี่ยแล้วจะมีแพทย์ GP 4 คนต่อ 1 primary care clinic ทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เช่น district nurses, นักกายภาพบำบัด, นักกิจกรรมบำบัด, นักจิตวิทยา, นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ คลินิกที่มีหมอแค่คนเดียวก็มีบ้าง แต่น้อยมากๆ
  • ในแต่ละปี ประชาชน 13-14 ล้านคนเข้ารับการรักษาใน primary care clinic และมีการโทรศัพท์ปรึกษาประมาณ 30 ล้านครั้ง
  • Primary care ในสวีเดน ไม่ได้มีลักษณะบังคับให้เป็น gate-keeper คือประชาชนสามารถข้ามไปหา specialized care ได้เลย แต่ส่วนใหญ่ก็มักไปหา primary care ก่อน
  • ภาษาสวีเดนใช้คำว่า vårdcentral (medical center)  หรือ husläkarmottagning (primary care clinic)
ตัวอย่าง vårdcentral (ภาพจาก Google Street Views)
ภาพ Capio Vårdcentral Slussen จาก Google Street View โดยคุณ Gustaf Bratt Henriksson, 2015

การจัดบริการ

  • ตั้งแต่ปี 2010, ประชาชนสามารถลงทะเบียนเลือกสถานพยาบาลที่จะเป็น primary care ของตนเองได้ หากไม่เลือกก็มักจะจัดให้เป็นสถานพยาบาลที่ visit ครั้งล่าสุด หรืออยู่ใกล้ที่สุด แต่ไม่จำเป็นว่าต้องไปรับการรักษาในสถานพยาบาลที่ตนลงทะเบียนไว้
  • Primary care มีทั้งที่เป็นเจ้าของโดยรัฐและเอกชน ทั้งสองแบบไม่มีความแตกต่างในด้านอัตราค่าบริการ
  • สถานพยาบาลจะมีรายได้จาก 1) งบเหมาจ่ายรายหัว (80% ของรายรับทั้งหมด) 2) ค่าบริการที่คนไข้จ่าย (17-18%) และ 3) performance-related payment, P4P (2-3%)
  • รายได้จาก P4P นี้จะได้ก็ต่อเมื่อทำตามเป้าด้าน quality ที่ทางรัฐบาลกำหนดไว้ได้สำเร็จ

หากสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Primary care ในสวีเดน ดูได้ที่เว็บนี้ครับ 1177 Vårdguiden


 3.3 Specialist Care

  • มีทั้งแบบเป็นคลินิก และโรงพยาบาล
  • คนไข้สามารถเลือกสถานพยาบาลได้ และคลินิกมักไม่ required ว่าต้อง refer จาก GP
  • โรงพยาบาลมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย (Tertiary care) 7 แห่งโรงพยาบาลประจำ county (Secondary care)  70 แห่ง จากทั้ง 70 แห่งนี้มีโรงพยาบาลเอกชน 6 แห่ง โดย 3 ใน 6 เป็นโรงพยาบาลไม่หวังผลกำไร
  • Counties จะจับกลุ่มกันเป็น 6 care region (เขตสุขภาพ) เพื่อประสานงานการรักษาและสนองนโยบาย
  • รายได้ของคลินิกเฉพาะทางจะเหมือนกับ Primary care (เหมาจ่าย + out-of-pocket + P4P)
  • รายได้ของโรงพยาบาลมาจากหลักๆ 3 ทาง 1) งบประมาณรัฐ (2/3 ของรายรับ) 2) Reimbursement (30%) 3) P4P (<5%)

ตัวอย่าง County Hospital: Södersjukhuset Hospital ใน Stockholm

ภาพจาก Wikimedia Common โดย Arild Vågen

ตัวอย่าง Private Hospital: Capio S:t Görans ใน Stockholm เป็น 1 ใน 3 private hospital ที่เป็น for-profit ครับ

ภาพจาก Capio.com

ตัวอย่าง University Hospital: Karolinska Hospital ใน Stockholm

New Karolinska Hospital – ภาพจาก New Karolinska Hospital Flickr

3.4 Emergency Care

  • Primary care ไม่เปิดนอก office hours แต่จะมี local emergency ward (Närakut) เปิดนอกเวลาสำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย
  • โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทั้ง 7 แห่ง และ 2/3 ของโรงพยาบาลประจำ county ให้บริการ emergency care 24 ชม.
  • County council และหน่วยงานระดับภูมิภาคต้องจัดสรรบริการให้ความรู้แก่ประชาชนทาง online, โทรศัพท์ (1177), และบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

3.5 Mental Health Care

  • ระบบและค่าบริการเหมือน primary care และ secondary care ปกติ
  • ถ้าป่วยเล็กน้อยไปหาหมอ GP ถ้าป่วยมากก็หาจิตแพทย์ ในโรงพยาบาลหรือในคลินิกจิตเวช

3.6 Long-term Care

  • อันนี้จะแตกต่างจากข้ออื่นๆ เพราะถือเป็นความรับผิดชอบของ municipality (เทศบาล) แต่ถ้าป่วยต้องรับ medical care อันนี้ก็ยังเป็นความรับผิดชอบของ county อยู่นะครับ
  • ผู้สูงอายุมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ home care aids, home help, meal deliveries, end-of-life care
  • long-term care แบ่งเป็น 2 แบบหลักๆ คือ nursing home และ home care ทั้งสองแบบมีผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน โดย 14% เป็นภาคเอกชน ให้บริการในลักษณะมาประกวดราคากับ municipality แล้วก็ทำสัญญากัน
  • Informal caregiver (caregiver ที่ไม่ได้ผ่านการ train ตามระบบ เช่น ญาติคนไข้) สามารถขอ reimburse จาก municipality ได้ (“relative-care benefits”) หรือ municipality บางแห่งก็ใช้วิธีจ้างญาติเป็นผู้ดูแล (“relative-care employment”)

สรุปการไหลเวียนของเงินในระบบ

ภาพจาก Sweden Health system review (Anell et al., 2012)

4. การพัฒนาคุณภาพ

  • การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลเป็นหน้าที่ของ county council โดยนำข้อมูลมาจาก patient registries และ national quality registries, การสำรวจเกี่ยวกับความพึงพอใจของคนไข้, และ clinical audits
  • มีความร่วมมือของหลายหน่วยงานในการทำ systematic review เพื่อออกเป็น guideline ของโรคต่างๆ
  • แต่ละปี รัฐบาลจะเผยแพร่ผลการดำเนินงานของ county ต่างๆ เปรียบเทียบกันให้ประชาชนทราบ และสำหรับ primary care ยังมีข้อมูลประสบการณ์การรับบริการและระยะเวลาการรอให้ประชาชนใช้ตัดสินใจเลือกสถานพยาบาลอีกด้วยที่เว็บไซต์ www.skl.se

4.1 National Quality Registry

เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับโรคต่างๆ ในระดับประเทศ ตั้งแต่ข้อมูลคนไข้ การรักษา และผลการรักษา เป็นการติดตามคุณภาพการรักษารายโรค เช่น National Quality Registry for Rheumatic Diseases (SRQ)  ก็จะเป็นการลงทะเบียนโรค Rheumatic Disease (SRQ Registry นี่เป็น registry ที่ได้ชื่อว่าทำผลงานได้ดีที่สุดครับ และเป็น case study อยู่บ่อยๆ)

จากนั้น data ที่เก็บมาก็จะนำไปใช้ในงานวิจัย, การพัฒนาคุณภาพการรักษา, performance measurement, ฯลฯ จริงๆ อันนี้คือ concept ของ Learning health system ครับ ไว้มีโอกาสเดี๋ยวมาเล่าให้ฟัง

ปัจจุบันมี registry สำหรับทั้งหมด 108 โรค ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ All Swedish Quality Registries

ภาพจาก SALAR, 2007

5. ปัญหาของระบบ

ปัญหาใหญ่ของระบบที่ทุกคนพูดถึงทั้งใน lecture และในสื่อ ก็คือปัญหาเรื่อง Care co-ordination ครับ (การประสานงานการดูแล) ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา long awaiting time (ใช้เวลารอการรักษานาน) เป็นปัญหามาเนิ่นนานจนรัฐบาลต้องออกนโยบาย “0–7–90–90 rule”

  • ภายในวันเดียว: คนไข้ต้องสามารถติดต่อ primary care ได้ ไม่ว่าทางโทรศัพท์หรือการไปที่คลินิก
  • ภายใน 7 วัน: คนไข้ต้องได้พบแพทย์ GP ถ้าจำเป็น
  • ภายใน 90 วัน: คนไข้ต้องได้พบแพทย์เฉพาะทาง ถ้าแพทย์​ GP refer มา
  • ภายใน 90 วัน: คนไข้ต้องได้รับการรักษาหลังพบแพทย์เฉพาะทาง (เช่น ผ่าตัด)
  • County council จะต้องทำให้คนไข้อย่างน้อย 70% ผ่านเกณฑ์ที่ว่า จึงจะได้ incentive จากรัฐบาลกลาง

จะเห็นว่าทั้ง process กินเวลาเกินครึ่งปี ซึ่งมันก็นานอยู่ดีครับสำหรับประเทศระดับนี้

บางคนบอกว่าการที่รัฐเข้ามาบริหารจัดการทุกอย่างเอง นำมาซึ่ง bureaucracy ทำให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพ


6. สนใจศึกษาเพิ่มเติม


ก็จบลงแล้วนะครับสำหรับบทความนี้ ยาวมากๆ แต่มันคือ a Short Introduction จริงๆ นะครับ และผมว่าไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตาม Healthcare system มันก็ complex แบบนี้แหละครับ เป็นธรรมชาติของมัน

สำหรับสวีเดนเอง หลายๆ คนยกย่องให้ระบบของที่นี่ดีอันดับต้นๆ ของโลก หลายคนเองก็ไม่ชอบ อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ถกกันได้ต่อไป ส่วนตัวผมเองเนื่องจากผมก็ไม่ใช่ Public Health Expert และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่การศึกษาหลักของผม ก็คงรู้มากกว่าในบทความนี้ไม่เยอะแหละครับ 55 แต่หากท่านใดสนใจแลกเปลี่ยนก็พูดคุยกันได้ครับ 🙂


References:

  • E. Mossialos, M. Wenzl, R. Osborn, and D. Sarnak (eds.), International Profiles of Health Care Systems, 2015, The Commonwealth Fund, January 2016.
  • Anell A, Glenngård AH, Merkur S. Sweden: Health system review.
    Health Systems in Transition, 2012, 14(5):1–159.

Comments

  1. Very useful info, especially for the new comer like me. Thank you very much to the doctor and I should like to share this info to my family and friends as the wish of giving out info to the big in Thailand to act and drive our country base on the nations benefit.

  2. เป็นบทความที่มีประโยชน์มากค่ะ มีข้อมูลเนื้อหาครอบคลุม ชัดเจน และเข้าใจง่าย

    จากประสบการณ์ของตัวเองและจากที่ได้ยินจากคนรอบข้างรวมถึงสื่อนะคะ
    การรอคิวและขั้นตอนกินระยะเวลานาน เป็นปัญหาที่เด่นชัด ชาวสวีเดนส่วนหนึ่งรู้สึกว่าไม่ได้รับการบริการ
    ที่มีประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น พูดกันว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะสวีเดนรับผู้ลี้ภัย ผู้อพยพเข้ามาเยอะเกินไป
    ปัญหานี้ส่งผลถึงการเมืองด้วยค่ะ ทำให้พรรค Sverigedemokraterna (SD)ได้รับความนิยมมากขึ้น

    อยากทราบความคิดเห็นหรือข้อมูลเกี่ยวกับแพทย์ต่างชาติที่เข้ามาทำงานในสวีเดน

    ขอบคุณค่ะ

  3. ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ ใช้เป็นข้อมูลในการประกอบทำรายงานระบบบริการสุขภาพ อ่านเนื้อหาเข้าใจง่ายและชัดเจนค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *