“In 2025, Sweden will be best in the world at using the opportunities offered by digitisation and eHealth to make it easier for people to achieve good and equal health and welfare, and to develop and strengthen their own resources for increased independence and participation in the life of society.”
Vision for eHealth 2025 [1]
ข้อความข้างต้นมาจากคำแถลงของรัฐบาลสวีเดนเมื่อกลางปี 2016 ครับ แม้มันจะยาว ๆ และงง ๆ หน่อย แต่สรุปสั้น ๆ เลยก็คือ สวีเดนตั้งเป้าจะมีระบบ eHealth ที่ดีที่สุดในโลกภายในปี 2025 นี้ครับ เป็น vision ที่ ambitious พอสมควร (ทำได้ไหมนี่อีกเรื่อง แฮ่ ๆ)
ครั้งก่อนที่ผมเขียนเรื่องระบบบริการสุขภาพของสวีเดนไป กะว่าอีกซักอาทิตย์จะเขียนเรื่อง eHealth in Sweden สุดท้ายผ่านมาครึ่งปีก็ยังไม่ได้เขียน พอดีช่วงนี้ปิดเทอม ประกอบกับเห็นช่วงนี้ที่ไทยกำลังพูดกันเรื่อง National eHealth Strategy เลยคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะเขียนเรื่องนี้ครับ 🙂
ยาวไปไม่อ่าน
- สวีเดนมี National eHealth Strategy มาแล้ว 3 ฉบับ ล่าสุดปี 2016 โดยเน้นการพัฒนาสำหรับ 3 กลุ่ม ประชาชน, บุคลากรทางการแพทย์, และผู้มีอำนาจตัดสินใจ
- ในระดับประเทศ มี 3 องค์กรเด่น ๆ ที่ทำเรื่อง eHealth คือ Socialstyrelsen (หน่วยงานรัฐ), eHealth Agency (หน่วยงานรัฐ), และ Inera AB (บริษัทเอกชนที่รัฐเป็นเจ้าของ) โดย service ส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาและบำรุงรักษาโดย Inera AB
- มีโปรเจคท์ด้าน eHealth ต่าง ๆ มากมาย ที่เด่น ๆ คือ eService สำหรับประชาชนที่ค่อนข้างครอบคลุม, ระบบ care coordination ระหว่างสถานพยาบาล ทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บน eHealth infrastructure และ interoperability standard โดยปฏิบัติตาม Patient Data Act
- รพ.และ primary care clinic มี EHR หมดแล้ว vendor หลัก ๆ มี 5 ราย
- หลาย ๆ เรื่องก็อาจนำไปปรับใช้ในประเทศไทยได้ แต่หลายเรื่องก็อาจมีความแตกต่างในบริบท
.
1. Swedish eHealth Strategy
เรื่อง eHealth ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในยุคนี้ หลาย ๆ ประเทศก็จะมี National eHealth strategy เป็นของตัวเองกันครับ (ประเทศไทยก็กำลังจะมีแล้วเหมือนกัน) ของสวีเดนนี่ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 3 แล้วครับ เวอร์ชั่นแรกปี 2006, ต่อมาปี 2010, และล่าสุดปี 2016 ในเชิง vision ปี 2010 กับ 2016 ไม่ได้ต่างกันมาก เรียกว่า 2016 เพิ่มเติมบางเรื่องเข้าไป (เช่น เรื่อง vision 2025 ข้างต้น)
เป้าหมายคือการพัฒนา eHealth สำหรับ 3 กลุ่ม ประชาชน (The individual), บุคลากรทางการแพทย์ (Health and social care staff), และผู้มีอำนาจตัดสินใจ (Decision-makers in all care services)

ภาพนี้ทุกคนที่บรรยายเรื่อง Swedish eHealth จะใส่มาในสไลด์ 55
เป็นภาพจากหนังสือ National eHealth Strategy ปี 2010 ครับ [2]
.
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เรื่องนี้จริง ๆ แอบซับซ้อนและมีประวัติยาวนาน ขอเอาแค่หน่วยงานหลัก ๆ ที่ยังมีบทบาทในปัจจุบันนะครับ

The National Board of Health and Welfare (Socialstyrelsen)
เป็นหน่วยที่ใหญ่มากในกระทรวง Ministry of Health and Social Affairs หน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานด้านสาธารณสุขของทั้งประเทศ, ออกใบประกอบโรคศิลป์สำหรับอาชีพต่างๆ, ออก guideline สำหรับโรคต่างๆ, เก็บรวบรวมสถิติด้านสาธารณสุข ฯลฯ โดยทั่วไปไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ eHealth เท่าไหร่
แต่มีเรื่องที่เกี่ยวกับ eHealth คือทำหน้าที่พัฒนา National information standard 2 อัน คือ NI และ NF ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปครับ

The Swedish eHealth Agency (eHälsomyndigheten)
เป็นองค์กรที่เพิ่งตั้งเมื่อปี 2014 นี้เองครับ เกิดตามมาจากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจร้านขายยา Apoteket ออกไปเป็นบริษัทเอกชน ดังนั้นเรื่อง ePrescription ที่เดิม Apoteket ดูแลอยู่จึงต้องหาคนดูแลต่อ เลยรวมกับงานด้าน national eHealth อื่น ๆ ตั้งเป็น eHealth Agency นี้ครับ
หน้าที่กำกับดูแล-ประสานงานการพัฒนา eHealth ของประเทศในภาพรวม, National drug statistics, และก็พัฒนา eService ของตนเองหลาย ๆ อย่าง พวก ePrescription, Health for Me, ฯลฯ รวมไปถึงการเชื่อมต่อกับต่างประเทศ

The Swedish Association of Local Authorities and Regions (SALAR)
เนื่องจากการปกครองของสวีเดนเน้นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เพราะฉะนั้นการดำเนินนโยบายหลัก ๆ ก็จะผ่าน county councils ทั้ง 21 แห่ง รวมถึงนโยบายด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน ดังนั้น องค์กรหลักที่จ่ายเงินในการพัฒนาระบบ eHealth เพื่อใช้ใน county นั้น ๆ ก็คือ county council ครับ
เพื่อให้การประสานงานระหว่างองค์กรปกครองส่วนภูมิภาคทำได้ราบรื่นมากขึ้น จึงมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร SALAR นี้ (ชื่อภาษาสวีดิชว่า Sveriges Kommuner och Landsting, SKL) เพื่ออำนวยความสะดวกในเรื่องการประสานงานเหล่านี้

Inera AB
ชื่อบริษัทคือ Inera นะครับ ส่วน AB ก็เหมือนคำว่า Inc. ในภาษาอังกฤษแหละ เป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1998 แล้ว ปัจจุบัน SALAR เป็นเจ้าของ โดยมีนักการเมืองจากแต่ละ healthcare region มานั่งเป็นบอร์ด region ละ 2 คน หน้าที่หลัก ๆ คือการพัฒนา soft infrastructure และ eService ต่าง ๆ ให้สถานพยาบาลในประเทศใช้ ปัจจุบันมี service ที่ดูแลอยู่กว่า 40 services
ข้อมูลปี 2016 บอกว่า Inera AB มีรายได้ 70 ล้านยูโรในปีนั้น และมีพนักงาน 200 คน (แต่สถานะของ Inera ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจนะครับ)
.
สรุปนะครับ ในระดับประเทศ มี 3 องค์กรเด่น ๆ ที่ทำเรื่อง eHealth คือ Socialstyrelsen (รัฐ), eHealth Agency (รัฐ), และ Inera AB (เอกชนที่รัฐเป็นเจ้าของ) โดย service ส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาและบำรุงรักษาโดย Inera AB
เสริม: ถ้าศึกษาเรื่อง Swedish eHealth แล้วเจอองค์กรชื่อ Centre for eHealth in interaction (Center för eHälsa i samverkan, หรือ CeHis) อันนี้คือเขาควบรวมกับ Inera แล้วนะครับ
.
3. การจัดสรรงบประมาณ
หลักการก็คือ แต่ละ county councils เป็นคนออกค่าใช้จ่ายในการพัฒนาหรือจัดหาระบบ eHealth มาใช้ภายใน county นั้น ๆ แต่ว่าถ้าหากโปรเจคท์ไหนที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีประโยชน์ต่อประเทศในวงกว้าง ก็สามารถขอ subsidize จากรัฐบาลกลางได้ครับ
ตัวเลขปี 2012 บ่งบอกว่า County councils ใช้จ่ายประมาณ 31.5 ล้านยูโรต่อปี (1,200 ล้านบาท) [3] เป็นค่าใช้จ่ายด้าน eHealth และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
.
4. The strategy’s action areas
ส่วนตัวผมว่าอันนี้ไม่ต้องสนมาก ก็คือเขาบอกว่าเขาจะทำอะไรบ้างนั่นแหละครับ คำแปลจริง ๆ มันน่าจะประมาณ “พื้นที่ปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์” แต่ผมว่าทับศัพท์ไปเลยเข้าใจกว่า ซึ่งสวีเดนแบ่ง action areas ออกเป็น 6 เรื่อง ผมจะไม่ลงรายละเอียดนะครับ ท่านใดสนใจลองอ่านดูได้ในเอกสารเขาครับ [2]
- eServices for accessibility and empowerment: การสร้างบริการ eService สำหรับประชาชน
- Usable and accessible information: การสร้าง eService สำหรับผู้ให้บริการ (providers)
- Knowledge management, innovation and learning
- Technical infrastructure
- Information structure, terminology and standards
- Laws and regulatory frameworks
.
5. Project เกี่ยวกับ eHealth ในสวีเดนที่น่าสนใจ
Project ต่าง ๆ จะทำงานอยู่บน platform ดังในภาพ overview นี้ครับ

ภาพจาก Slide ของ Mikael Johansson, Inera AB
อธิบายก็คือเร่ิมจากมีระบบ IT ต่าง ๆ ที่รันอยู่ในสถานพยาบาลและหน่วยงานต่าง ๆ อยู่ในชั้นล่างสุด ระบบเหล่านี้จะเชื่อมกับ National infrastructure platform ซึ่งจะมี development kit, eService ต่าง ๆ ให้กับ end-users กลุ่มต่าง ๆ เช่น บุคลากรสาธารณสุข, นักวิจัย, ประชาชนทั่วไป สังเกตว่าข้อมูลทางสุขภาพส่วนหนึ่งก็จะเปิดเป็น open data ให้นักพัฒนาเข้าถึงได้เช่นกัน
5.1 eService สำหรับประชาชน

ภาพรวม eService สำหรับประชาชน
ภาพจากสไลด์ของ Sofie Zetterström, Inera AB
1177.se
1177 เป็นหมายเลขโทรศัพท์สำหรับให้ประชาชนโทรปรึกษาปัญหาสุขภาพในกรณีไม่ใช่เจ็บป่วยฉุกเฉิน เปิดบริการ 24 ชม. จะมีพยาบาลคอยให้คำแนะนำและประสานงานหากต้องมีการรักษาเพิ่มเติม แต่ละเดือนมีประชาชนโทรเข้าไปกว่า 400,000 ครั้ง ต่อมาในยุคอินเตอร์เน็ตเบอร์โทรนี้ก็กลายเป็นชื่อ portal สำหรับ eService ทุกอย่างสำหรับประชาชน
ภายในเว็บไซต์ก็จะมีคำแนะนำสำหรับโรคต่าง ๆ, คำแนะนำเมื่อต้องการพบแพทย์, มีระบบ search หาสถานพยาบาลประเภทต่าง ๆ (มีเปรียบเทียบตัวชี้วัดด้าน quality ในแต่ละที่ด้วย), ถามคำถามเบื้องต้นได้ (anonymous) ฯลฯ และเมื่อ log in แล้วก็จะเข้าถึงบริการอื่น ๆ ได้

1177.se (www.1177.se)
Medical Record Online (Journalen)
อันนี้ก็คือ Personal Health Records แหละครับ ใช้ infrastructure เดียวกันกับ eService สำหรับสถานพยาบาล ดังนั้นจึงดึงข้อมูลมาแสดงให้ประชาชนเห็นได้ด้วย ก็มีตั้งแต่ Diagnosis, ยาที่กินทั้งหมด, ผลแล็บ, ผล x-ray, ประวัติการฝากครรภ์, ฯลฯ
เนื่องจากเป็นโปรเจคท์ที่ยังใหม่อยู่ แต่ละ county council ยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับ infrastructure กลางได้เท่ากัน ดังนั้นข้อมูลสุขภาพที่เข้าถึงได้จึงยังต่างกันอยู่ในแต่ละ county

Journalen – Personal Health Records (จริง ๆ มีแบบ live demo version แต่ผมไม่แน่ใจว่าเขาอนุญาตให้แชร์หรือเปล่า)
My Healthcare Contacts (Mina vårdkontakter)
อันนี้ก็จะเป็นบริการสำหรับประชาชนต่าง ๆ เช่น ระบบนัดแพทย์, ระบบปรึกษาแพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา, จริง ๆ มี service อื่น ๆ อีกเยอะอยู่ที่ผมไม่แน่ใจว่าคืออะไร

My Healthcare Contacts (ภาพเว็บแปลด้วย Google Translate)
UMO.se
อันนี้จริง ๆ ก็คือ 1177.se แบบมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 25 ปีแหละครับ เนื้อหาก็จะเกี่ยวข้องกับเยาวชน ความสัมพันธ์, วัยรุ่น, sex, ฯลฯ

UMO.se (ภาพจากเว็บไซต์ umo.se)
Health for Me (HälsaFörMig)
อันนี้เป็นโปรเจคท์ล่าสุด (ณ ตอนที่เขียนยังไม่เปิดให้บริการเลยครับ) คืออย่าง Journalen ก็คือเป็นที่ให้คนไข้ดูข้อมูลสุขภาพที่ “สถานพยาบาลเป็นคนบันทึก” ได้ แต่สำหรับ Health for Me อันนี้คือตอบสนองเทรนด์ quantified self ในปัจจุบันโดย “ประชาชนสามารถบันทึกข้อมูล” เข้าไปในระบบเพื่อมีส่วนร่วมในการรักษาได้
Health for Me ยังทำตัวเป็น platform ให้เอกชนสามารถพัฒนา app มาเชื่อมต่อได้ เช่น ทำ fitness tracker app ให้ส่งข้อมูลไปเข้า platform ได้ เวลาไปตรวจที่คลินิกหมอก็ดูได้เลยว่าออกกำลังกายเป็นอย่างไรบ้าง

ภาพจากเว็บไซต์ www.halsaformig.se

Health for Me – Developer ภาพจากเว็บไซต์ developer.halsaformig.se
.
5.2 eService สำหรับบุคลากรสาธารณสุข
The National Patient Summary (NPÖ)
โปรเจคท์นี้คือการทำให้สถานพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลคนไข้ที่สำคัญ ๆ ได้ ไม่ว่าคนไข้คนนั้นจะเคยรักษาที่ไหนมาก่อน (ทั้งโรงพยาบาลและคลินิก) วิธีการก็คือรัฐบาลสร้าง central repository กลางขึ้นมา เมื่อคนไข้เข้ารับการรักษาที่ไหน สถานพยาบาลนั้นก็ส่งข้อมูลไปที่ repository กลาง จากนั้นถ้าคนไข้ไปรักษาที่อื่น เขาก็มีสิทธิ์ authorize ให้สถานพยาบาลอื่นเข้าถึงข้อมูลตนเองได้ (ถ้าป่วยฉุกเฉินไม่รู้สึกตัว สถานพยาบาลสามารถเข้าถึงโดยไม่ต้องขออนุญาต)
ปัจจุบันโรงพยาบาลทุก county เชื่อมต่อกับ NPÖ หมดแล้ว (เพราะมี EHR vendor หลัก ๆ อยู่ไม่กี่แห่ง) แต่ว่ายังไม่สามารถเชื่อมต่อกับคลินิกทุกแห่งได้

หน้าตาของ The National Patient Summary (NPÖ)
ภาพจากสไลด์ของ Peter Rosengren, Inera AB
ePrescription
ก็คือการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์ครับ คือเวลาเราไปตรวจที่สถานพยาบาลไหน เราก็ไปรับยาที่ร้านยาไหนก็ได้ เดี๋ยวระบบเขาเชื่อมกันเอง ปัจจุบัน 95% ของการสั่งยาทำผ่าน ePrescription หมดแล้ว

ePrescription in Sweden
ภาพจาก Hellström et al. [4]
National Prescription Database (NOD)
เป็น database ที่รวบรวมรายละเอียดการสั่งยาทั้งหมดในประเทศ จุดประสงค์ก็คือเรื่อง continutity of care แหละครับ ไม่ว่าคนไข้มีภูมิลำเนาที่ไหน ถ้าเขาไปรักษาที่รพ.ไหนก็ตาม แพทย์ก็สามารถเข้าถึงรายการยาที่เขาใช้อยู่ได้ (ข้อมูลยาใน NPÖ ก็มาจาก NOD นี่แหละครับ) EHR vendor ต่าง ๆ ก็ integrate การเชื่อมต่อกับ NOD เข้ามาในระบบของตนเอง
Pascal
เป็น Web application สำหรับเข้าถึง NOD สำหรับสถานพยาบาลที่ไม่ได้ integrate NOD เข้าไปใน EHR

ไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าภาพนี้คือ Pascal หรือเปล่า แต่ฟังก์ชั่นน่าจะประมาณนี้แหละครับ
Swedish Drug Information Database (SIL)
เป็นฐานข้อมูลยาทั้งหมดในประเทศ ซึ่ง EHR vendor ต่าง ๆ ก็สามารถ integrate เข้ากับระบบของตนเองได้ คล้าย ๆ กับว่าอย.เปิด API ให้คนอื่นเข้าถึงข้อมูลยาได้อะไรแบบนั้นแหละครับ
.
5.3 Infrastructure
Sjunet
eHealth service ทุกอย่างของสวีเดนจะรันอยู่บนโครงสร้างพื้นฐานที่ชื่อว่า Sjunet ครับ คือเป็นระบบเครือข่าย intranet ขนาดใหญ่มากที่เชื่อมโยงสถานพยาบาล ร้านยา และผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ ทั่วประเทศ (คือเหมือน Internet ทุกอย่าง แต่แค่ไม่เชื่อมกับโลกภายนอก) เหตุผลในการสร้าง Sjunet ขึ้นมาคือ 1) ด้าน security 2) เพื่อให้บริการ service เฉพาะทางด้าน healthcare

ตัวอย่างการสั่งยา ePrescription ผ่าน Sjunet (Apoteket คือร้านยา)
ภาพจาก Malmqvist et al. (5)
Health Service Address Registry (HSA)
เป็นฐานข้อมูลสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมดในสวีเดน ใช้สำหรับการยืนยันตัวตนเวลาจะใช้ทำอะไรก็ตามผ่านระบบ electronic
Secure IT in the Healthcare Sector (SITHS)
เรียกอีกชื่อว่า e-ID ก็คือเป็นการ์ดให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้เพื่อยืนยันตัวตน 2 ชั้น (two-factor authentication) ทำงานร่วมกับ HSA ปัจจุบันออกการ์ดไปแล้วกว่า 500,000 ใบ
Basic Services for Information Management (BIF)
เป็นชุดของ service เสริมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ eHealth infrastructure ทำงานร่วมกับ Sjunet, HSA, และ SITHS ตัวอย่าง service พวกนี้ก็เช่น authentication service, access service, log service, consent service, ฯลฯ

ภาพรวม Architecture ในปัจจุบัน ภาพจาก slide ของ Mikael Johansson จาก Inera AB
.
5.4 National Information Standard
เรื่อง National Information Standard ผมเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ที่โพสท์นี้นะครับ เชื่อมต่อข้อมูลทางการแพทย์ด้วย Health Informatics Standard
การจะทำให้เกิด semantic interoperability ได้ต้องการสองอย่างคือ reference information model และ terminology binding ซึ่ง NI ก็คือ reference information model ส่วน NF คือ terminology binding ครับ จริง ๆ สวีเดนก็มี interoperability project อื่น ๆ อยู่ แต่ที่ใหญ่ ๆ และพูดถึงเยอะในช่วงหลายปีมานี้ก็คือสองอันนี้แหละครับ
National Information Structure (NI)
ก็คือ system modelling ครับ ประกอบด้วย 3 อย่าง คือ 1) process model 2) concept model 3) information model
อธิบายแบบง่าย ๆ ก็คือความพยายามในการถอดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดการดูแลรักษาคนไข้ออกมาเป็น model เพื่อนำ model นั้นไปพัฒนาเป็นระบบ IT ต่าง ๆ ต่อไป โดย model นี้อ้างอิงตาม EN/ISO 13606 Standard ซึ่งเป็นญาติ ๆ กับ OpenEHR แหละครับ ก็จะมีพวก National Archetypes, templates อะไรเหมือน OpenEHR เลยครับ

Model ส่วนหนึ่งของ NI
ภาพจาก Nationell informationsstruktur 2017 [6]
National Interdisciplinary Terminology for health and social care (NF)
ก็คือการทำ terminology binding ครับ สวีเดนได้แปล SNOMED-CT กว่า 280,000 terms เป็นเวอร์ชั่นสวีดิช (Swedish extension) ตั้งแต่ปี 2011 และพยายาม binding เข้ากับ NI ท่านใดสนใจประสบการณ์การ implement SNOMED-CT ของสวีเดนลองอ่านได้ที่ Final report ของ Project ครับ [7]

SNOMED-CT Swedish Extension จาก SNOMED-CT Browser
.
5.5 Electronic Health Records
ข้ออื่น ๆ เป็นโครงการจากภาครัฐนะครับ แต่ข้อนี้ EHR Vendor ส่วนใหญ่เป็นเอกชนครับ ตลาด EHR สำหรับโรงพยาบาลในสวีเดนมี vendor ประมาณ 10 แห่ง แต่มีอยู่ 5 แห่งที่มี market share สูงสุด [8]
- Cerner – Melior (27.0%)
- Cambio – Cosmic (24.1%) – Web
- CompuGroup – Take Care (24.1%) – Web
- Evry – NCS Cross (10.8%) – Web
- Norrbottens County Council – VAS (4.7%)
ปัจจุบันโรงพยาบาลทุกโรงและ Primary care center ทั้งหมด มี EHR ใช้หมดแล้ว (100% adoption rate) โดยปกติถ้าโรงพยาบาลตั้งอยู่ใน county ไหนก็มักใช้ EHR เดียวกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชน (แต่รพ.เอกชนในสวีเดนนี่มีน้อยมากนะครับ) อย่างไรก็ดี EHR ต่าง ๆ ข้างต้นส่วนใหญ่มีอายุค่อนข้างมากแล้ว ส่วนใหญ่ก็ 20-30 ปี (Cambio นี่อายุน้อยสุด ราว 10 ปี)
Melior นี่จริง ๆ เป็น in-house development ใน Gothenberg ครับ แต่ต่อมา support โดย Siemens และกลายเป็น Cerner ในปัจจุบัน (Cerner ซื้อ Siemens Health Services) ส่วน VAS นี่เป็น in-house ที่ยังใช้อยู่ทางภาคเหนือ (king in the North!)

EHR Market share in Sweden แบ่งตาม County council แลดูมีความ Game of Thrones (ภาพนี้ไม่สื่อ market share นะครับ เพราะพื้นที่ใหญ่ไม่ได้แปลว่าคนเยอะ)
ภาพจากคุณ Christer Bark แต่ไม่รู้ original จริง ๆ publish ที่ไหน
.
5.6 The Patient Data Act
โปรเจคท์ทั้งหมดที่ผมกล่าวมาต้องทำผ่านให้ผ่านกฎเกณฑ์ด้าน privacy และ security ของ The Patient Data Act ครับ revise ออกมาใหม่เมื่อปี 2008 เนื้อหาด้านในผมยังไม่ได้อ่านเหมือนกันครับ แฮ่ ๆ ท่านใดสนใจลองโหลดไปอ่านเล่นได้ที่เว็บไซต์ของเขาครับ
.
6. สถานการณ์ปัจจุบัน และ Lessons Learned สำหรับประเทศไทย
กลับไปที่เป้าหมายใน vision 2025 ที่ตั้งใจว่าจะเป็น Best in the World ด้าน eHealth ถ้าถามผมเองผมว่าดีที่สุดไหม คงพูดยากครับ แต่ก็น่าจะอยู่แถวหน้า ๆ ของโลกได้อยู่ ความเห็นของคนในพื้นที่ก็พูดคล้าย ๆ ผม
ผมว่าสวีเดนมีข้อได้เปรียบด้าน eHealth คือ
- EHR Fragmentation ค่อนข้างน้อย ทั้งประเทศมี EHR vendor อยู่ไม่กี่เจ้า (U.S. มีเป็นร้อย vendors) ทำให้เชื่อมต่อกับระบบของส่วนกลางได้ง่าย ในขณะเดียวกันก็ไม่น้อยจนเกินไปจนไม่เกิดการแข่งขัน
- เป็นรัฐเดี่ยว มีความคล่องตัวในการบังคับใช้นโยบายต่าง ๆ (U.S. นี่ยากมากนะครับที่ federal government จะไปบังคับอะไร state government)
- ประชาชนมี digital literacy ค่อนข้างสูง มีแนวโน้มจะรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ง่าย
- ประเทศมีเงินพร้อมลงทุนสำหรับโครงการด้าน eHealth
- มี startup ecosystem, innovation culture, academic research ที่เข้มแข็ง
สำหรับข้อเสียที่ผมนึกออกก็คือ
- เนื่องจากนำระบบ IT เข้ามาใช้ใน healthcare เป็นเวลาร่วม 40 ปีแล้ว ดังนั้นเลยมี legacy system อยู่ในส่วนต่าง ๆ มากมาย การจะทำอะไรใหม่ ๆ เลยต้องคำนึงถึง backward compatibility เยอะ
สิ่งที่ผมว่าน่าสนใจและอาจสามารถศึกษาเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ในการนำไปปรับใช้ในไทย
- จริง ๆ แม้จะเห็นว่ามี service เยอะแยะเลย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้จริง ๆ เขาก็เฟลมาหลายโปรเจคท์เหมือนกันนะครับ ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จไปซะหมด
- Public-private partnership และการจัดตั้งบริษัท Inera AB ขึ้นมาบริหารจัดการโครงการ eHealth ต่าง ๆ ผมว่าเขาตัดสินใจดีนะว่าอันไหนรัฐควรทำ อันไหนควรแค่วางโครงไว้แล้วให้เอกชนทำต่อ
- ลองดูไอเดีย eService ต่าง ๆ ที่เขาให้บริการประชาชนอยู่ในปัจจุบันครับ หลาย ๆ อย่างก็อาจจะเหมาะกับเรา แต่บางอย่างก็อาจจะไม่เหมาะ
- ถ้าวางรากฐาน infrastructure และ interoperability ไว้ดี มันก็จะต่อยอดง่ายนะครับ
- ประสบการณ์การทำ SNOMED-CT local extension [7]
- คืออาจดูเขาเป็นไอเดียได้ แต่ต้องไม่ลืมว่าบริบททางสังคมเราก็มีเรื่องที่ต่างจากเขาครับ
.
สรุป
ก็หมดแล้วครับ จริง ๆ มี service อีกหลาย ๆ อย่างที่ผมอยากเขียนถึงและอยากลงรายละเอียดมากกว่านี้ แต่มันยาวมากแล้วจริง ๆ ครับ ท่านใดสนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมก็พูดคุยกันได้นะครับ ไว้พบกันโอกาสหน้าครับ
สำหรับสรุปเนื้อหาขอก็อปยาวไปไม่อ่านมาเลยละกันครับ
- สวีเดนมี National eHealth Strategy มาแล้ว 3 ฉบับ ล่าสุดปี 2016 โดยเน้นการพัฒนาสำหรับ 3 กลุ่ม ประชาชน, บุคลากรทางการแพทย์, และผู้มีอำนาจตัดสินใจ
- ในระดับประเทศ มี 3 องค์กรเด่น ๆ ที่ทำเรื่อง eHealth คือ Socialstyrelsen (หน่วยงานรัฐ), eHealth Agency (หน่วยงานรัฐ), และ Inera AB (บริษัทเอกชนที่รัฐเป็นเจ้าของ) โดย service ส่วนใหญ่ในประเทศพัฒนาและบำรุงรักษาโดย Inera AB
- มีโปรเจคท์ด้าน eHealth ต่าง ๆ มากมาย ที่เด่น ๆ คือ eService สำหรับประชาชนที่ค่อนข้างครอบคลุม, ระบบ care coordination ระหว่างสถานพยาบาล ทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บน eHealth infrastructure และ interoperability standard โดยปฏิบัติตาม Patient Data Act
- รพ.และ primary care clinic มี EHR หมดแล้ว vendor หลัก ๆ มี 5 ราย
- หลาย ๆ เรื่องก็อาจนำไปปรับใช้ในประเทศไทยได้ แต่หลายเรื่องก็อาจมีความแตกต่างในบริบท
.
References
- the Ministry of Health and Social Affairs. Vision for eHealth 2025.
- Ministry of Health and Social Affairs. National eHealth – the strategy for accessible and secure information in health and social care. 2010.
- Direktoratet for e-helse. Utredning av «Én innbygger – én journal» V6.1 Internasjonale erfaringer Desember 2015. 2015.
- Hellström L, Waern K, Montelius E, Åstrand B, Rydberg T, Petersson G. Physicians’ attitudes towards ePrescribing – evaluation of a Swedish full-scale implementation. BMC Med Inform Decis Mak [Internet]. 2009;9(1). Available from: http://dx.doi.org/10.1186/1472-6947-9-37
- Malmqvist G, Nerander KG, Larson M. Sjunet–the national IT infrastructure for healthcare in Sweden. Stud Health Technol Inform. 2004;100:41–9.
- Nationell informationsstruktur 2017 [Internet]. [cited 2017 Jun 12]. Available from: http://www.socialstyrelsen.se/publikationer2017/2017-5-35
- An Interdisciplinary Terminology for Health and Social Care – Final Report [Internet]. [cited 2017 Jun 12]. Available from: http://www.socialstyrelsen.se/publikationer2011/2011-8-17
- Thomas JLP. eHälsa och IT i landstingen maj 2017 [Internet]. Available from: https://www.dagensmedicin.se/contentassets/4871987a349f46769867ea8ff1085fc3/rapport—ehalsa-och-it-i-landstingen-2017.pdf