Personal Health Record (PHR) ควรมีข้อมูลอะไรบ้าง – แจก Spreadsheet สรุป

แชร์งานที่ทำในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาครับ เป็นการหาว่าในต่างประเทศเขามีข้อมูลอะไรบ้างใน PHR ซึ่งในการทำงานนี้ ผมได้ค้นคว้ามาจาก 6 แหล่ง ดังนี้ครับ

  1. HL7 Personal Health Record System Functional Model, Release 2
  2. NHS UK PHR functionality checklist
  3. Apperta Foundation – A Blueprint for a CoPHR Ecosystem
  4. Australia – My Health Record
  5. Finland – Kanta PHR
  6. India – ABDM IG – Wellness Document

ภาพ featured image โดย Andrew Neel ที่ Unsplash

ภาพรวมของแหล่งข้อมูลแต่ละแหล่ง

HL7 Personal Health Record System Functional Model, Release 2 (URL)

  • HL7 เป็นองค์กรที่ออกมาตรฐานทาง healthcare หลาย ๆ อย่าง (เช่น FHIR) หนึ่งในมาตรฐานที่เขาออกก็คือตัวนี้แหละครับ เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วย PHR-S (PHR system) ควรมี functionality อะไรบ้าง มาตรฐานนี้สามารถโหลดได้ฟรีจากเว็บของ HL7 เลยครับ
  • ต้องขอขอบคุณพี่แซม ภก. ณัฐดนัย ไทยพิพัฒน์ จากทีม SIL-TH ที่แนะนำให้รู้จักมาตรฐานนี้นะครับ
  • เป็น spec ที่ยาวมากครับ แต่ก็ comprehensive มากเช่นกัน ถ้าใครจะต้องทำระบบ PHR ผมแนะนำให้ลองอ่านไปทีละข้อและพิจารณาว่าข้อไหนจะทำหรือไม่ทำอย่างไรครับ
  • ผมเข้าใจว่าใน US ไม่ได้มี National PHR นะครับ

NHS UK PHR functionality checklist (URL)

  • เข้าใจว่า UK เองก็ไม่มี National PHR เช่นกันครับ
  • ผมคิดว่า NHS น่าจะแค่กำหนดในภาพกว้างว่า PHR น่าจะมี functionality อะไรบ้างตามใน checklist ข้างต้นนี้ครับ ไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เนื่องจากผมไม่สามารถหา specification โดยละเอียดว่า PHR ใน UK มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอะไรได้บ้างนะครับ ทั้งระหว่าง provider และกับภาครัฐ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมเดี๋ยวมาอัพเดทครับ
  • อย่างไรก็ดี โดยรวมสิ่งที่อยู่ใน checklist นี้ก็ไปในแนวทางเดียวกับของ HL7 ครับ แค่มีบริบทของ UK ใส่เข้ามา

Apperta Foundation – A Blueprint for a CoPHR Ecosystem (URL)

  • ขอบคุณพี่แซมเช่นกันครับที่แนะนำให้รู้จักเอกสารชุดนี้
  • Apperta เป็นมูลนิธิใน UK เช่นกันครับ ผมชอบแนวคิดเขานะครับ ที่มองว่าสุดท้ายมันจะมีหลายระบบอยู่ร่วมกันเป็น ecosystem มีหลาย PHR หลาย clinical data repository สุดท้ายก็ต้องมีกลไกในการที่จะทำให้ทุกคนแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ (ดังภาพด้านล่างนี้) ซึ่งทางมูลนิธิสนับสนุนการใช้ openEHR ครับ
  • ใน PDF ที่มีให้ดาวน์โหลด ก็มีตัวอย่าง data element เล็กน้อยเช่นกันครับ แต่ผมว่าที่น่าสนใจเข้าไปดูคือภายใน Apperta openEHR CKM ที่จะมี information model ของหลาย ๆ เรื่องสามารถใช้ใน PHR ได้ครับ ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง problem list
ภาพจาก Apperta Foundation – A Blueprint for a CoPHR Ecosystem หน้า 13 ครับ

Australia – My Health Record (URL)

  • ผมค่อนข้างแน่ใจว่าในออสเตรเลียมี National PHR ครับ ชื่อว่า My Health Record
  • แต่ ณ ปัจจุบัน ผมยังไม่สามารถหาได้ว่า data อะไรบ้างที่อยู่ใน app นี้ครับ เท่าที่ทราบคือการเก็บข้อมูลเก็บเป็น HL7 CDA เป็นหลัก แล้วเขาก็มี API specification บอกว่าจะเรียกดูอะไรให้ทำอย่างไร
  • เท่าที่หาได้ตอนนี้ก็คือหน้าหนึ่งที่เขาเอาไว้ให้ประชาชนทั่วไปอ่านครับ คือ What is in a My Health Record?

Finland – Kanta PHR (URL)

  • ผมคิดว่าฟินแลนด์ก็น่าจะมี National PHR เช่นกันครับ (เพราะสมัยผมอยู่สวี ก็เห็นโครงการที่คล้าย ๆ กัน)
  • เท่าที่หาได้คือเป็น FHIR implementation guide ที่มีทั้ง DSTU3 และ R4 เข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะตอนที่ทำตอนแรกเขาเริ่มตั้งแต่ DSTU3 พอ R4 ออกมาก็เลยค่อย ๆ ย้าย

India – ABDM IG – Wellness Document (URL)

  • ผมไม่แน่ใจว่าอินเดีย implement เรื่อง digital health ถึงไหนนะครับ อย่างไรก็ดี เขามี national implementation guide อยู่ ซึ่งครอบคลุมหลายเรื่องมาก PHR ก็เป็นหนึ่งในนั้น
  • สำหรับ PHR สามารถดูได้ที่ StructureDefinition-WellnessRecord ครับ

Spreadsheet สรุปของทั้งหมด

ในการทำงานนี้ ผมได้นั่งอ่านจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วสรุปไว้ในไฟล์ spreadsheet นะครับ ท่านใดสนใจสามารถเข้าไปดูได้ครับ หรือถ้ามีแก้ไขอย่างไรแจ้งผมได้นะครับ

HL7 EHRS-FM Release 2: Personal Health Record System Functional Model, Release 2 (PHR-S FM)

เนื่องจากเป็น specification ที่ค่อนข้างครบถ้วนและละเอียด เลยอยากนำเสนอใน blog นี้ครับ ถ้าเราโหลดไฟล์มาแล้ว จะมีหลายไฟล์อยู่ในนั้น ไฟล์ overview ก็จะบอกภาพรวม ส่วนไฟล์ functional list ก็จะเป็นรายการของ functionality ต่าง ๆ ครับ

ในภาพคือตัวอย่าง HL7 PHR-S FM ที่เป็น functionalist ครับ จะเป็นรายการแบบนี้ยาวมาก ณ เวอร์ชั่นที่ผมโหลดมามี 1,832 ข้อ

ในการทำงานนี้ ผมได้สรุปสาระสำคัญของ HL7 PHR-S FM นี้ไว้ในไฟล์ spreadsheet ด้านบนด้วยครับ โดยจะมี 2 sheet นะครับ

  1. HL7-Full คือการสรุปทุกข้อจาก PHR-S FM ช่วงแรก ๆ ผมก็นั่งอ่านรายละเอียดอยู่ ช่วงหลัง ๆ ก็อ่านเอาจากหัวข้อเป็นหลัก เพราะไม่ค่อยเกี่ยวกับ clinical เท่าไหร่
  2. HL7-Summary คือเอา HL7-Full มาสรุปเอาสาระสำคัญมาก ๆ อีกทีหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ clinical เป็นหลักครับ

ในที่นี้ขออธิบายการจัดโครงสร้างของ PHR-S FM นิดนึงครับ ซึ่งใน sheet HL7-Full ก็ล้อไปตามนั้นครับ

โครงสร้างของ HL7 PHR-S FM

มาตรฐานนี้แบ่งออกเป็น 4 sections แต่ละ section ก็จะแบ่งเป็น subsections ภายใน subsection ก็อาจมี subsection ย่อยลงไปอีก สุดท้ายในแต่ละ subsection ก็จะมีรายการของ function ที่เป็นข้อกำหนดของ specification ตรงนี้เยอะมากครับ ในมาตรฐานตัวเต็มมีมากกว่า 1,832 ข้อ

ซึ่งในการสรุปที่ spreadsheet ใน sheet HL7-Full ผมจะไม่ลงไปถึงแต่ละ function นะครับ จะสรุปรวม ๆ ของ subsection นั้น ๆ มากกว่า (ลำดับขั้นของ section/sub-section นี้ ดูตัวเลข code ของ row นั้น ๆ ประกอบก็จะพอทราบได้ครับ เช่น 1.1.2 ก็จะเป็น sub ของ 1.1 เป็นต้น)

โดยทั้ง 4 sections ได้แก่

  1. Personal Health (PH): functions ที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสุขภาพ ทั้งโดยตัวบุคคลเอง หรือข้อมูลจาก provider
  2. Personal Health Support (S): functions ที่เกี่ยวข้องกับ administrative และ financial รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เช่น research, public health, quality improvement
  3. Record Infrastructure (RI): functions ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บ record
  4. Trust Infrastructure (TI): functions ที่เกี่ยวข้องกับ security, privacy, interoperability

ต้องบอกก่อนว่าแต่ละรายการที่อยู่ใน spreadsheet ไม่จำเป็นต้องเป็น MUST ทั้งหมดนะครับ ในมาตรฐานเองก็มี SHALL, SHOULD, MAY หลายระดับเหมือนกัน ลองเปรียบเทียบกับมาตรฐานตัวเต็มประกอบดูครับ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นภาพรวมและสรุปสาระสำคัญของ HL7 PHR-S FM ครับ อย่างไรก็ดี หากใครทำงานกับ PHR ผมก็ยังเชียร์ให้ลองอ่านมาตรฐานตัวเต็มดูนะครับ

Next step

ผมไม่แน่ใจว่าโครงการนี้ผมจะต้องทำอะไรต่อมากน้อยแค่ไหนนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะได้ค้นคว้าประเด็นเหล่านี้เพิ่มหรือไม่ครับ ไว้ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไรเดี๋ยวมาแชร์เพิ่มครับ 🙂

Comments

  1. เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ สำหรับการเริ่มต้นเรียนรู้และทำวิจัยเกี่ยวกับ PHR ขอบพระคุณมากๆค่ะ อาจารย์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *