หลัง ๆ มานี้รู้สึกมีงานบรรยายเยอะ เลยคิดว่าควรศึกษาเรื่องการอธิบายเนื้อหาไว้บ้าง ไปเสิร์ช ๆ เจอเล่มนี้เลยลองอ่านดูครับ
หนังสือเป็นแนว how to แบบเอาทฤษฎีทางการศึกษามาสนับสนุนข้อเขียนของตนเอง เนื้อหาส่วนใหญ่พูดถึงการสอนนักเรียนในโรงเรียน (แต่ก็อาจจะประยุกต์กับเรื่องอื่นได้) ส่วนตัวจริง ๆ รู้สึกว่าหลาย ๆ ไอเดียก็น่าสนใจดี แต่ส่วนใหญ่ก็ค่อนข้าง common sense (แค่อาจมีการเอาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุน) ไม่ถึงกับ wow แบบเปลี่ยนชีวิตอะไรนะครับ อย่างไรก็ดี คิดว่ามีหลายประเด็นน่าสนใจ จึงได้สรุปไว้ ณ ที่นี้ครับ
Chapter 1: Subject Knowledge
- คุณค่าของความรู้ในแขนงต่าง ๆ มี 2 แบบ
- Instrumental value: ประโยชน์ต่อสังคมและต่อตนเอง เช่น ทำให้ทำข้อสอบผ่าน ทำให้หาเงินได้ ทำให้ได้ทำอาชีพที่กำลังขาดแคลน
- Intrinsic value: คุณค่าที่ได้จากการได้เรียนรู้วิชานั้น ๆ เช่น การได้มองโลกด้วยมุมมองใหม่ ๆ
- การอธิบายที่ทำให้ผู้เรียนเข้าถึง intrinsic value ได้ จะทำให้การอธิบายนั้นทรงพลังกว่า
- การจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึง intrinsic value นั้นได้ ผู้สอนต้องเข้าใจคุณค่านั้นในมุมของตนเองก่อน ตัวอย่างคำถามเพื่อการเข้าใจตนเอง

- วิธีอธิบายหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตัววิชา คือการอธิบายระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ของสาขาวิชานั้น เช่น วิธีคิด วัฒนธรรม ความสัมพันธ์ของวิชาต่อมนุษย์หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ
- อาจมีการใช้แผนภาพอธิบายภาพใหญ่ของวิชา (เหมือนมีแผนที่ทางเดินรถไฟใต้ดิน) เพื่อให้ผู้เรียนทราบขอบเขตและแนวทางการเรียนในแต่ละขั้น
- มีกล่าวถึงว่า การเรียนในโรงเรียน คือการทำให้เด็กได้เข้าถึงความรู้ที่ทรงพลัง (powerful knowledge) ซึ่งเขาไม่สามารถที่จะมีได้ด้วยตนเอง หรือสภาพแวดล้อมที่บ้าน แต่เมื่อได้ไปแล้วทำให้เขาเข้าใจโลกในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
- 3 วิธีที่จะช่วยให้เราอธิบายได้ดีขึ้น 1) ทำความเข้าใจจุดที่ผู้เรียนมักจะเข้าใจผิด 2) เข้าใจจุดที่เรามักจะตกอยู่ใน “curse of knowledge” 3) พยายามเข้าใจจุดที่เป็น unknown unknown ในสาขาความรู้ของเรา
- curse of knowledge คือ เมื่อเรารู้เรื่องหนึ่ง ๆ ลึกขึ้น เราอาจไม่สามารถเข้าใจได้ว่าผู้อื่นไม่เข้าใจได้อย่างไร
Chapter 2: Credibility and clarity
- การจะมีความน่าเชื่อถือในการอธิบายได้ ต้องทำตาม Rhetoric – the art of persuasion ของอริสโตเติล ซึ่งประกอบด้วย 3 อย่าง และมักต้องทำไปด้วยกัน
- Ethos: เราเป็นใคร มี connection กับผู้ฟังอย่างไร การแสดงให้ผู้ฟังได้เห็นว่าเรารักและเชื่อในสิ่งที่เรากำลังอธิบาย และเราเป็นผู้ที่ให้ความเคารพต่อผู้ฟัง
- Logos: โน้มน้าวด้วยเหตุผลและตรรกะ ก็คืออธิบายได้มีเหตุมีผล อธิบายเรื่องยาก ๆ ได้อย่างชัดเจน
- Pathos: โน้มน้าวด้วยการสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ฟัง มีความ empathy ต่อผู้ฟัง/นักเรียน
- อีกงานวิจัย meta-analysis ในปี 2009 บอกว่าความน่าเชื่อถือของผู้สอน มีที่มาจาก 3 อย่าง คือ
- Competence: สื่อสารความรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล
- Trustworthiness: มีความจริงใจ เช่น ส่วนไหนที่ของเนื้อหาที่น่าสงสัยหรือน่าจะมี bias ก็ชี้แจงอย่างโปร่งใส
- Caring: มีการใช้ caring message ทั้ง verbal และ non-verbal

- อีกงานวิจัยให้ความสำคัญกับการเป็น authentic teacher ซึ่งมีคุณสมบัติคือ approachable, passionate, attentive, capable, และ knowledgeable
- ผู้เรียนจะรู้สึกว่าผู้สอน authentic หากมีการเล่า personal stories ที่เกี่ยวข้องกับวิชา เช่น เล่าถึงความลำบากสมัยเรียนวิชานั้น หรือความลำบากสมัยเป็นนักเรียน
- ผู้เรียนชอบผู้สอนที่พูดเนื้อหาด้วยความคิดของตนเอง มากกว่าจะแค่พูดซ้ำสิ่งที่อยู่ใน textbook
- ในด้านการอธิบายให้มีความชัดเจนมากขึ้น ผู้เขียนแนะนำ 6 เรื่อง
- อธิบายว่าแต่ละบทเรียน มีความสัมพันธ์อย่างไรในภาพใหญ่ เกี่ยวข้องอย่างไรกับเนื้อหาก่อนหน้า
- ใช้ภาษาง่าย ๆ แต่ชัดเจน (concise and concrete) ในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน
- ถ้ามี instruction ให้ทำอะไร บางทีอาจยากที่จะอธิบาย (เช่น ให้วาดรูปให้สวย) อาจใช้วิธีให้ตัวอย่างรูปที่สวยให้ดู
- อธิบายให้ชัด แต่เป็นภาษาง่าย ๆ ว่าจะวัดผลอย่างไร
- ถ้าจะเขียน feedback อธิบาย ควรพยายามทำความเข้าใจวิธีคิดของผู้เรียนแล้วเขียน feedback ให้ชัดเจน ถ้าเป็นไปได้ควรพูดคุยดีกว่า
- พยายามสร้างการจัดระเบียบความรู้ สำหรับสาขาวิชาที่สอน ดังภาพด้านล่าง

Chapter 3: Explanation design
- เวลาที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในเรื่องใหม่ ๆ การให้คำอธิบายอย่างชัดแจ้ง (explicit instruction ก็คือการสอนแหละครับ) ให้ผลการเรียนที่ดีกว่าการให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าด้วยตนเองโดยให้คำแนะนำให้น้อยที่สุด (minimal guidance) แต่ในทางตรงกันข้าม หากผู้เรียนเริ่มมีความรู้มากขึ้น วิธีหลังจะให้ผลที่ดีกว่า
- working memory ของผู้เรียนมีจำกัด หน้าที่ผู้สอนคือไม่ทำให้ working memory ตรงนี้ overload และพยายามเปลี่ยนให้ working memory กลายเป็น long-term memory
- Cognitive load
- Intrinsic load: load ที่เกิดจากความยากของเนื้อหานั้น ๆ เอง
- Extraneous load: load ที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สไลด์บรรยายที่รก
- Germane load: load ที่เปลี่ยน working memory เป็น long-term memory
- การออกแบบบทเรียนให้ลด load
- แบ่งบทเรียนให้เป็นหน่วยย่อย ๆ การพยายามอธิบายให้เยอะมีงานวิจัยมากมายว่าไม่ได้ผล
- ให้จุดสนใจของผู้เรียนเป็นไปทีละจุด เช่น เอารูปกับคำอธิบายไว้ที่เดียวกัน ไม่ต้องเปิดไปเปิดมา
- ลดข้อมูลซ้ำซ้อน เช่น ไม่พูดไปด้วยในขณะที่ผู้เรียนกำลังอ่านเนื้อหายาว ๆ, ไม่พูดออกนอกประเด็นมาก, ไม่ใส่รูปที่ไม่จำเป็น
- แต่หากเป็นข้อมูลที่มีความซับซ้อนสูง การมีจุดที่ผู้เรียนสามารถอ่านไปด้วยได้หากหลุดประเด็นไหนไป ก็เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
- ลด distraction เช่น โทรศัพท์มือถือ คนเปิดเข้าเปิดออก
- เน้นย้ำ หรือพูดซ้ำในประเด็นสำคัญ ในเวลาที่ต่างกัน หรือใช้สื่อการสอนช่วย
- ให้ตัวอย่างวิธีทำที่สมบูรณ์ (worked example) ค่อยให้ผู้เรียนทำตาม
- การใช้ทั้งภาพและเสียงไปพร้อมกัน ทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้มากกว่า (modality effect)
- การเปิดให้เห็นภาพทีละส่วนจะช่วยให้เข้าใจได้มากกว่า
- ปิดท้ายด้วยคำแนะนำเรื่องสไลด์

Chapter 4: Concepts, examples and misconceptions
- เป้าหมายของการสอนคือการให้ผู้เรียนเข้าใจ conceptual knowledge ซึ่งมักประกอบขึ้นจากความรู้หลาย ๆ อย่างในประเด็นที่สนใจ เช่น
- Factual knowledge: ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง
- Scientific knowledge: ความรู้ที่เกิดจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- Moral knowledge: การประเมินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด
- Aesthetic knowledge: การประเมินว่าสิ่งใดงามหรือไม่งาม ตามสุนทรียศาสตร์
- Procedural (practical) knowledge: ความรู้ในขั้นตอนการทำงาน
- Metacognitive knowledge: ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความรู้ของตนเอง
- เช่น จะประเมินนิยายก็ต้องมี factual และ scientific knowledge เพื่อประเมินว่าโลกในนิยาย make sense หรือไม่ การกระทำของตัวละครในทาง moral เป็นอย่างไร การเขียนนั้นงดงามทาง aesthetic หรือไม่ และในทาง procedure แล้วการเขียนนั้นใช้วิธีการเล่าเรื่องอย่างไร เป็นต้น
- การทำให้ผู้เรียนเข้าใจ conceptual knowledge ได้มักต้องทำผ่านการยกตัวอย่างที่เป็น concrete, memorable real-world examples
- การยกตัวอย่างที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
- It should connect to what a student already knows.
- It should be as simple as possible.
- It should appeal to the senses.
- It should be easy to transfer to new contexts.
- It should be memorable.
- It should come in multiples.
- It should aim to provoke an emotional response.
- การยกตัวอย่าง อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ซึ่งอาจลดปัญหานี้ได้โดยการใช้หลาย ๆ ตัวอย่าง โดยให้มี ความหลากหลายของบริบทการใช้ (range of contexts) และความหลากหลายของรูปแบบ (small variations) เช่น หากต้องการยกตัวอย่างการใช้ ‘s ก็อาจทำได้ดังนี้

- อีกวิธีหนึ่งการให้ตัวอย่างที่ใช่และไม่ใช่ เช่น ตัวอย่าง A ✅ ตัวอย่าง B ✅ แต่ตัวอย่าง C ❌ เป็นต้น
- อีกวิธีคือการใช้ attribute มาช่วย ซึ่ง concept อาจมี attribute ที่เป็น must have หรือ may have

- ความเข้าใจผิดของผู้เรียนเป็นเรื่องที่จัดการยาก บางทีก็เป็นความเชื่อฝังลึก อาจต้องใช้ความร่วมมือของหลายฝ่าย วิธีหนึ่งที่อาจทำได้คือให้ผู้เรียนลองอธิบายสิ่งที่ตนเข้าใจเกี่ยวกับวิชานั้น ๆ ก่อนเริ่มเรียน และวิธีอื่น ๆ
Chapter 5: Metaphor and analogy
- การเปรียบเทียบ (metaphor) เป็นเครื่องมือที่ดีที่จะเชื่อมโยงความรู้ที่ต้องการถ่ายทอด กับความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ เป็นประโยชน์เมื่อต้องสอนเรื่องที่เป็นนามธรรมสูงที่มีตัวอย่างจากโลกความเป็นจริงน้อย
- ควรใช้การเปรียบเทียบเป็นจุดเริ่มต้นไม่ใช่จุดจบ และควรใช้อย่างระวัง เพราะอาจสร้างความเข้าใจที่ผิด ๆ ได้ง่าย

- ต้นกำเนิดของการเปรียบเทียบ อาจมาจาก social, physical หรือ emotional experience ที่ผู้เรียนเคยประสบ
- การสร้างการเปรียบเทียบ ควรมีลักษณะ 4 อย่าง
- Transformative: เช่น การตัดสินใจของมนุษย์เป็นการแข่งขันกันระหว่างแรงสองทาง ช้างกับควาญช้าง อารมณ์เป็นเหมือนช้าง จิตสำนึกส่วนควบคุมอารมณ์เหมือนควาญช้าง
- Relevant: เช่น อธิบายเงินเฟ้อโดยการเปรียบเทียบกับราคาอาหารในศูนย์อาหารของโรงเรียน
- ข้อควรระวังของวิธีนี้คือ สิ่งที่เปรียบเทียบอาจไม่ relevant กับทุกคน ต้องรู้จักผู้เรียนก่อน
- ส่วนที่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้มีหลายระดับ เช่น เปรียบเทียบกับร่างกาย (ใกล้ตัวที่สุด), สภาพแวดล้อมใกล้ตัว (เช่นห้องที่กำลังอยู่), สภาพแวดล้อมที่ห่างออก (โรงเรียน) และ สังคมวัฒนธรรม
- Distinct: ถ้าการเปรียบเทียบของ 2 วิชา ใช้สิ่งเดียวกันเปรียบเทียบ อาจสร้างความสับสนได้
- การใช้ non-analogies ก็อาจช่วยให้เข้าใจของเขตวิชา เช่น ผิวหนังคนเหมือนหรือต่างอย่างไรกับพื้นผิวของใบไม้ ?
- Visual: การใช้ภาพเข้ามาช่วยในการเปรียบเทียบ เช่น เปรียบเทียบไข่ กับเปลือกโลก
Chapter 6: Storytelling
- สนองของมนุษย์เรียนรู้จากเรื่องเล่าได้ดี น่าสนใจ และจดจำได้ง่าย
- เรื่องเล่าทำให้เกิด simulation (knowledge about how to act) และ inspiration (motivation to act) ซึ่งทั้งสองอย่างสามารถนำไปสู่ action ได้
- ผู้สอนสามารถนำเรื่องราวความรุ่งเรืองหรือตกต่ำของผู้เรียนในอดีตมาเล่าได้
- งานวิจัย แสดงแนวทางการเล่าเรื่องที่พบบ่อย 6 แบบ
- “Rags to riches” (rise)
- “Tragedy”, or “Riches to rags” (fall)
- “Man in a hole” (fall–rise)
- “Icarus” (rise–fall)
- “Cinderella” (rise–fall–rise)
- “Oedipus” (fall–rise–fall)
- ผู้สอนควรหา “human element” ในเรื่องเล่าของวิชาต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่าวิชานั้น relavant กับตนมากขึ้น เช่น คนที่เสียสละเพื่อค้นพบเรื่องบางอย่าง หรือ เด็กเวียดนามที่โดนลูกหลงจากระเบิดในสงคราม
- อาจใช้วิธีเล่าเรื่องผ่าน conflict -> solution -> obstacle loop เช่น ใน TED talk ‘How Radio Telescopes Show Us Unseen Galaxies’
- Problem 1: the universe is too vast to view.
- Solution 1: the advent of the telescope.
- Problem 2: the visible spectrum only shows a tiny slice of the known universe because everything appears red.
- Solution 2: radio astronomy means that we can peer more deeply into the known universe.
- Problem 3: radio waves have low resolution.
- Solution 3: build huge radio telescopes in flat, dry, radio-quiet locations.
- Problem 4: these are still not sensitive enough to pick up very low and faint frequencies.
- Solution 4: build a radio telescope one thousand times bigger and more sensitive that may allow us to watch the beginning of time itself.
- ในการเล่าเรื่อง ผู้ฟังมักจำตอนต้นกับตอนจบได้ แต่จำตอนกลางไม่ค่อยได้ อาจเอาเรื่องสำคัญไว้หัวท้าย และเน้นย้ำประเด็นสำคัญช่วงกลาง ๆ
- เวลาอธิบายศัพท์ทางเทคนิค อาจมีการบอกที่มาของคำด้วย ผู้เรียนจะจำได้มากขึ้น
- อาจใช้วิธีการเชื่อมโยงหลักสูตรให้เหมือนเป็นเรื่องเล่ายาว ๆ เรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องเล่ายาว 5 ปี
Chapter 7: Elaboration
- Each learner develops personal knowledge that is a unique reconstruction of the teacher’s knowledge -> แต่ละคนสร้างความรู้ออกมาได้ไม่เหมือนกัน
- เมื่ออธิบายเสร็จแล้วควรคั่นกลางหรือตามด้วยกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้อธิบายสิ่งที่เข้าใจและคิดทบทวนในเนื้อหาที่ได้รับใหม่
- อย่าถามว่าเข้าใจไหม เพราะทุกคนจะตอบว่าเข้าใจ ให้ถามในสิ่งที่จะทำให้เขาได้อธิบาย อย่าถามยากไป และให้ถามให้ทั่วถึงด้วย
- การทบทวนเป็นระยะมีความสำคัญ ควรใส่ไว้ในหลักสูตร ด้วยวิธีต่าง ๆ
- อาจมีการใช้ Dialogic teaching คือการใช้บทสนทนาในการเรียน
Conclusion
บทนี้จริง ๆ ไม่ค่อยมีอะไร แต่ผมชอบส่วนที่เป็น check-list เอาไว้ดูเวลาคนอื่นสอน ผมว่าใช้ประเมินตนเองได้เช่นกัน ซึ่งมีดังนี้
- Introduction is clear.
- Purpose of lesson is explained.
- Content is conceptual.
- Links are made to previous and/or future learning.
- New vocabulary is clarified through etymology/morphology.
- Key ideas are made salient and repeated.
- Language is combined with images.
- Short bursts of explanation are followed by practice.
- Parts of explanation are linked together.
- Attention is ‘funnelled’.
- Real-world examples are used.
- Multiple examples are used.
- Non-examples are used.
- Concrete analogies are used.
- Misconceptions are highlighted and addressed.
- Features of storytelling are used.
- Students’ grasp of main ideas is checked.
- Students elaborate.
- Retrieval practice is embedded. Students maintain attention.
- Changes to voice and gesture emphasise key points.
ก็จบแล้วครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ